กรอบการรายงาน ESG แบบแนะนำที่นิยม: Carbon Disclosure Standard Board (CDSB)

Pasapon Sariman
มิถุนายน 24, 2023
แชร์บทความ

                The Climate Disclosure Standards Board (CDSB) เกิดจากการรวมตัวก่อตั้งเป็นสมาคมทางธุรกิจในระดับสากลขององค์กรอิสระด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ CDSB ก่อตั้งขึ้นในปี 2550 โดยมีข้อตกลงร่วมในการพัฒนาและสนับสนุนรูปแบบการรายงานของอุตสาหกรรมหลักตามมาตรฐานสากล โดยการนำเสนอกรอบการรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดในระดับเดียวกับการรายงานด้านการเงิน เพื่อสร้างสมดุลในการลงทุนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและการลงทุนทางการเงินและในปัจจุบัน CDSB ได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งใน IFRS Foundation เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2561 IFRS ได้ประกาศจัดตั้ง new International Sustainability Standards Board (ISSB) ใหม่รวมถึงการควบรวม “the Climate Disclosure Standards Board (CDSB)” และ “the Value Reporting Foundation (VRF)” และรวมกรอบและมาตรฐานการรายงานทั้งหมดเข้าด้วยกันอยู่ในรูปแบบมาตรฐานการรายงานของ Sustainability Accounting Standard Board (SASB) ภายในปี 2565 กรอบการรายงานฉบับแรกของ CDSB ถูกปล่อยออกมาในปี 2553 ชื่อว่า “the Climate Change Reporting Framework” โดยมุ่งเป้าความสนใจไปที่ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลกับกลยุทธ์องค์กร รวมถึงศักยภาพและปัจจัยแวดล้อมทางการเงิน ต่อมาในปี 2558 “the CDSB Framework for reporting environmental and climate change information” ที่เกิดจากการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบนเวทีสาธารณะก็ถูกปล่อยออกมาแทน “the Climate Change Reporting Framework” กรอบการรายงาน CDSB ถูกปรับปรุงอีกครั้งในปี 2561 เพื่อให้สอดคล้องกับ Task Force on Climate-related Financial Disclosures  (TCFD) และข้อกำหนดของการรายงานในอุตสาหกรรมหลักอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการรายงานขององค์กรต่างๆ ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางของตลาดและความต้องการผู้บริโภค ขอบเขตของกรอบการรายงาน CDSB ได้ขยายครอบคลุมข้อมูลทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหลังจากการทำประชาพิจารณ์อีกครั้ง “the CDSB Framework for reporting environmental and social information” ถูกประกาศใช้ในปี 2565 และมีการให้คำแนะนำเชิงเทคนิคในการสร้างโครงสร้างการรายงานจากหลักฐานต่างๆ ที่พิสูจน์ได้ตามมาตรฐาน ISSB ภายใต้การควบคุมดูแลของ IFRS Sustainable Disclosure Standards โดยคำแนะนำเชิงเทคนิคนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ประกอบไปด้วยประเด็นการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับน้ำ ประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ และประเด็นเกี่ยวกับสังคม ทั้งนี้คำแนะนำเชิงเทคนิคทั้ง 3 ประเด็นยังคงเป็นประโยชน์และองค์กรต่างๆสามารถอ้างอิงได้จนกว่า ISSB จะประกาศเปลี่ยนแปลงในประเด็นดังกล่าว อย่างไรก็ตามในปัจจุบันคำแนะนำเชิงเทคนิคของ CDSB ยังไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ IFRS เนื่องด้วยกระบวนการจัดการภายในที่ ISSB กำลังจัดการอยู่ จึงทำให้คำแนะนำเชิงเทคนิคดังกล่าวยังไม่ปรากฏในมาตรฐานการรายงานของ โดยรวมแล้ว CDSB คาดหวังว่าจะกระตุ้นการวิเคราะห์และตัดสินใจของนักลงทุนที่ตระหนักถึงการพึ่งพาอาศัยและผลกระทบของเสฐียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับต้นทุนทางธรรมชาติ มนุษย์และสังคมผ่านการจัดเตรียมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่สมบูรณ์ (CDSB, 1., 2022)

วัตถุประสงค์ของกรอบการรายงาน CDSB

กรอบการรายงาน CDSB ถูกใช้เป็นพื้นฐานและเป็นกระบวนการตั้งต้นในการรายงานเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมในกิจกรรมหลักของงองค์กรที่ Task Force for Climate-Related Financial Disclosures (TCFD) แนะนำ เช่น การรายงานประจำปี รายงาน 10-K หรือการรายงานรวมเป็นต้น โดย CDSB มีเป้าประสงค์เพื่อ:

  • ช่วยให้องค์กรต่างๆแปลความหมายของข้อมูลด้านความยั่งยืนออกมาเป็นคุณค่าในระยะยาว;
  • ช่วยให้องค์กรนำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุนได้ชัดเจน กระชับ สอดคล้องและเชื่อมโยงกับการดำเนินการด้านความยั่งยืนขององค์กรในทุกด้านทั้งกลยุทธ์ การปฏิบัติ และความคาดหวังในอนาคต;
  • ช่วยให้องค์กรเพิ่มความสามารถและกระตุ้นการตัดสินใจของนักลงทุนในการจัดสรรปันส่วนการลงทุนทางการเงิน;
  • ช่วยให้องค์กรเพิ่มคุณค่าของการรายงานกิจกรรมหลักเดิมในปัจจุบัน รวมทั้งลดภาระในการเขียนรายงานและทำให้กระบวนการเขียนรายงานง่ายขึ้น

กรอบการรายงานนี้ยังช่วยองค์กรต่างๆในทางอ้อมโดย :

  • สนับสนุนการเขียนรายงานให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการรายงานความยั่งยืนในปัจจุบันหรือในอนาคตเช่น EU Non-Financial Reporting Directive หรือ Thailand 56-1 Form;
  • ช่วยในการจัดรูปแบบข้อมูลที่เป็นหลักฐานการรายงานตามมาตรฐาน ISSB ที่ควบคุมโดยมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล IFRS;
  • ช่วยทำให้การรายงานทางการเงินสมบูรณ์ครบถ้วนในทุกมิติด้วยข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการรายงานข้อมูลด้านการเงิน;
  • ช่วยให้การรายงานเป็นไปในทิศทางเดียวกับคำแนะนำของ Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD);
  • ช่วยให้การรายงานมีความยืดหยุ่น CDSB สร้างขึ้นบนพื้นฐานของวิธีการรายงานที่นิยมที่สุดเช่น CDP, GRI, SASB, IFRS;
  • ช่วยกระตุ้นการสร้างมาตรฐานการรายงานเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม;
  • สนับสนุนความเคร่งครัดที่เหมาะสมกับข้อมูลในการรายงานต่อนักลงทุน;
  • ช่วยในการเตรียมรายงานที่มีความน่าเชื่อถือ

โดยการพัฒนากรอบการรายงาน CDSB ได้รับการดูแลโดยคณะทำงานด้านเทคนิคที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจากบริษัทการบัญชีขนาดใหญ่ต่างๆ องค์กรเกี่ยวกับการรายงานต่างๆ บริษัทเอกชนต่างๆ และนักวิชาการมากมาย ในปัจจุบันแบบแผนการรายงานความยั่งยืนทั้งภาคสมัครใจและภาคบังคับมีอยู่มากมายแต่ไม่มีมาตรฐานไหนที่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าองค์กรควรระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในด้านธรรมชาติ สังคมและมนุษย์อย่างไร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะตีความข้อมูลนั้นอย่างไร เนื่องจากหากข้อมูลต่างที่อยู่ในรายงานไม่สอดคล้องกัน สถาบันการเงินต่างๆจะไม่นำข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจ (CDSB, 2., 2022) ดังนั้น องค์กรควรเลือกรูปแบบการรายงานให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆขององค์กร

คำแนะนำในการประยุกต์ใช้กรอบการรายงาน CDSB

คำแนะนำแรกเป็นคำแนะนำด้านสภาพภูมิอากาศที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือองค์กรในการเปิดเผยข้อมูลเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับการสภาพภูมิอากาศในรายงานการดำเนินกิจการหลักขององค์กร คำแนะนำด้านสภาพภูมิอากาศถูกออกแบบสำหรับเติมเต็มกรอบการรายงาน CDSB และกรอบการรายงาน มาตรการ และการรับรองอื่นๆ ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกับกรอบการรายงาน CDSB ในบางประเด็นหรือทั้งหมด คำแนะนำนี้นำเสนอเครื่องมือในการพัฒนาการดำเนินการเขียนรายงานขององค์กรต่างๆ และเป็นเครื่องยืนยันว่านักลงทุนได้รับข้อมูลเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพตามเพื่อจัดสรรการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ มาตรฐานการรายงานความเสี่ยงและโอกาสต่างๆ ในการดำเนินกิจการหลักขององค์กรหมายรวมถึงการขาดแคลนข้อมูลในการตัดสินใจของนักลงทุนหรือผู้มีอำนาจอื่นๆ ด้วย และความขาดแคลนที่ส่งผลกับคุณภาพการรายงานนี้ส่งผลให้เองทำให้นักลงทุนไม่สามารถจัดสรรการลงทุนที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมได้ เนื่องจากขาดข้อมูลเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศที่จำเป็นต่อการตัดสินใจ หัวใจหลักของคำแนะนำนี้คือการรายงาน 6 อันดับแรกตามข้อกำหนดของกรอบการรายงาน CDSB และข้อกำหนดในการรายงานเหล่านี้กล่าวถึงหัวข้อที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการรายงานข้อมูลเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินกิจการหลักดังนี้:

  • REQ-01 การกำกับดูแล
  • REQ-02 นโยบาย กลยุทธ์ และเป้าหมายในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อม
  • REQ-03 ความเสี่ยงและโอกาส
  • REQ-04 แหล่งที่มาของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
  • REQ-05 สมรรถภาพ และการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ
  • REQ-06 ภาพรวม

สิ่งที่คำแนะนำเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศนำเสนอสำหรับแต่ละข้อกำหนดคือ:

  • รายการที่ข่วยให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ;
  • คำแนะนำและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรายละเอียดการรายงานที่ทำให้การรายงานตามข้อกำหนดที่เกี่ยวกับประเด็นสภาพภูมิอากาศของกรอบการรายงาน CDSB มีความสมบูรณ์;
  • การเลือกใช้ทรัพยากรต่างๆ ในการสนับสนุนในการเขียนรายงานและช่วยให้องค์กรพัฒนาการรายงานกิจกรรมหลักต่างๆ ที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ;
  •  อธิบายถึงตัวอย่างที่ดีในการรายงานกิจกรรมหลักที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ

คำแนะนำด้านสภาพภูมิอากาศยังครอบคลุมถึงการเสนอแนะข้อมูลสนับสนุนที่สำคัญต่อการตัดสินใจขององค์กรเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านภูมิอากาศที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการหลักและรวมถึงการให้มุมมองเกี่ยวกับหลักการและข้อกำหนดในการเขียนรายงานของกรอบการรายงาน CDSB อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นคำแนะนำด้านสภาพภูมิอากาศแสดงให้เห็นถึงภาพรวมที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อธุรกิจโดยการอธิบายถึงความสำคัญของความเสี่ยงทางกายภาพและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นที่นัยสำคัญและลัษณะเฉพาะของกลไกด้านสภาพภูมิอากาศที่จำเป็นต่อการเขียนรายงานรายงาน และสุดท้ายในภาคผนวกของคำแนะนำด้านสภาพภูมิอากาศยังเป็นการเชื่อมโยงกรอบการรายงาน CDSB กับคำแนะนำของ TFCD และรายการเพิ่มเติมแหล่งที่มาของ CDSB เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเปิดเผยข้อมูลอีกด้วย (CDSB, 3., 2022)

คำแนะนำด้านน้ำคือคำแนะนำประเภทที่สองสำหรับการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับน้ำที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ เปิดเผยข้อมูลของน้ำที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการเงินในรายงานการดำเนินกิจการหลักขององค์กร คำแนะนำนี้ถูกออกแบบเพื่อเป็นส่วนเสริมสำหรับกรอบการรายงาน CDSB ในการรายงานข้อมูลสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อนักลงทุน คำแนะนำด้านน้ำนำเสนอแนวทางการเขียนรายงานเพื่อความมั่นใจว่านักลงทุนได้รับข้อมูลที่ต้องการ อันจะส่งผลต่อการจัดสรรการลงทุนเพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน ยืดหยุ่นและสร้างเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับทรัพยากรน้ำ คำแนะนำนี้สามารถใช้ได้กับองค์กรทั้งองค์กรเดี่ยวหรือกลุ่มองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อการเงิน การกำกับดูแลและการสร้างความยั่งยืน (CDSB, 4., 2022)

คำแนะนำส่วนที่สามในชุดคำแนะนำการประยุกต์ใช้กรอบการรายงาน CDSB คือคำแนะนำด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่มีเป้าหมายในการต่อยอดคำแนะนำตามองค์ประกอบหลักด้านธรรมชาติของ TCFD คำแนะนำด้านความหลากหลายทางชีวภาพถูกออกแบบเพื่อสนับสนุนผู้ที่ต้องการใช้งานกรอบการรายงาน CDSB ในแง่ของการลงทุนทางธรรมชาติที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ เช่นเดียวกับคำแนะนำด้านสภาพภูมิอากาศ และคำแนะนำด้านน้ำ คำแนะนำด้านความหลากหลายทางชีวภาพถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาคุณภาพในการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นเนื้อหาสาระสำคัญที่ใช้งานร่วมกับหลักการรายงานและข้อกำหนดของกรอบการรายงาน CDSB โดยแต่ละการประยุกต์ใช้ช่วยให้องค์กรสามารถเปิดเผยข้อมูลได้ชัดเจน กระชับ สอดคล้องและสามารถเปรียบเทียบได้ (ทั้งการเปรียบเทียบเนื้อหาเดิมในช่วงเวลาที่ต่างกันและการเปรียบเทียบระหว่างเนื้อหากับเนื้อหา) รวมถึงพัฒนาการตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ในการรายงานการดำเนินกิจการหลักขององค์กรต่อนักลงทุน ในการประยุกต์ใช้คำแนะนำด้านความหลากหลายทางชีวภาพเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการอธิบายหัวข้อย่อยที่ทับซ้อนกันเนื่องจากความเชื่อมโยงทางธรรมชาติของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ วัตถุประสงค์ของคำแนะนำด้านความหลากหลายทางชีวภาพคือช่วยให้องค์กรจัดเตรียมการเปิดเผยข้อมูลที่มีคุณภาพสูงได้โดยช่วยให้ผู้ใช้งานที่ต้องการรายงานการดำเนินกิจการหลักสามารถประเมินข้อมูลเนื้อหาสาระทางการเงินที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพได้ นอกเหนือจากนั้นคำแนะนำด้านความหลากหลายทางชีวภาพยังฉายให้เห็นภาพรวมของความสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจการและอธิบายถึงความเสี่ยงและโอกาสสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงเน้นย้ำให้เห็นคุณลักษณะสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและความสำคัญในการรายงานเรื่องนี้ขององค์กร (CDSB, 5.,2022)

ในปี 2564 CDSB ได้ตีพิมพ์เอกสารการรายงานสถานะการจัดทำคำแนะนำด้านสังคมโดยคาดหวังว่าจะเป็นการช่วยขยายขอบเขตของกรอบการรายงาน CDSB ที่รวมข้อมูลทางสังคมเข้ากับข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม การตัดสินใจนี้เกิดจาก 3 เหตุผลหลัก เหตุผลแรกคือความสำคัญของข้อมูลด้านสังคมต่อองค์กรเนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของการใช้ท่าทีของโอกาสและความเสี่ยงต่อองค์กรเป็นปัจจัยในการตัดสินใจของนักลงทุนและผู้มีอำนาจควบคุม เหตุผลที่สองคือความสำคัญของการเชื่อมโยงระหว่างประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจถึงผลกระทบจากภาคธุรกิจได้ดีขึ้น รวมถึงการแสดงให้เห็นถึงความต้องการสร้างความเข้าใจและการรายงานสาระสำคัญไปในทิศทางเดียวกัน เหตุผลที่สามคือในปัจจุบันยังไม่มีกรอบการรายงานข้อมูลด้านสังคมที่สัมพันธ์กับหลักการ วิธีการ และโครงสร้างของการรายงานการดำเนินกิจการหลักอย่างแท้จริง กรอบการรายงาน CDSB ฉบับปรับปรุงนี้ถูกคาดหวังให้เป็นตัวช่วยในการพัฒนาคุณภาพการรายงานให้สูงขึ้นและช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นสำหรับทั้งผู้ที่จัดเตรียมการเปิดเผยข้อมูลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในเอกสาร “Corporate reporting on social matters” ได้รวมข้อมูลทางสังคมเข้ากับการทดสอบตลาดและความสอดคล้องกับหลักการและข้อกำหนดรายงานของ CDSB และได้เสนอคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงในการรายงานประเด็นด้านสังคมที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการหลักที่สามารถเพิ่มเติมรายละเอียดและความชัดเจนของข้อมูลส่วนนี้ลงได้ในหลายส่วนของกรอบการรายงาน CDSB แต่เนื่องจากความท้าทายอยู่ที่แนวทางในการปฏิบัติของการเขียนรายงานในปัจจุบันควรประกอบไปด้วยความสอดคล้อง เปรียบเทียบได้ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ เป็นเนื้อหาสาระเฉพาะที่เกี่ยวกับประเด็นด้านสังคมในการดำเนินกิจกรรมหลักขององค์กรที่ต้องรายงาน ดังนั้นความท้าทายจึงอยู่ที่คุณภาพ ความเข้มข้น และบริบทของข้อมูลมากกว่าจำนวนของข้อมูล (CDSB, 6., 2022)

CDSB กำลังเริ่มขยายขอบเขตของกรอบการรายงานและเทคนิคการนำไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับเนื้อหาประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเงิน จากที่เห็นได้ว่า CDSB นำเสนอกรอบการรายงานออกสู่ตลาดโดยอ้างอิงรูปแบบมาตรฐาน TCFD ในเนื้อหาสาระทางการเงินทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงนำเสนอมาตรฐานของการรายงานที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจขององค์กรพัฒนาตลอดเวลาเพื่อบรรลุความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

International References:

  1. CDSB, 1. (2022) Consolidation of CDSB. [online] London: Climate Disclosure Standard Board. Available from: https://www.cdsb.net/ [Access 14 June 2023].
  2. CDSB, 2. (2022) Framework for Reporting Environment and Social Information. [online] London: Climate Disclosure Standard Board. Available from: https://www.cdsb.net/what-we-do/reporting-frameworks/environmental-information-natural-capital [Access 14 June 2023].
  3. CDSB, 3. (2022) Climate Guidance. [online] London: Climate Disclosure Standard Board. Available from: https://www.cdsb.net/climateguidance [Access 14 June 2023].
  4. CDSB, 4. (2022) Water Guidance. [online] London: Climate Disclosure Standard Board. Available from: https://www.cdsb.net/water [Access 14 June 2023].
  5. CDSB, 5. (2022) Biodiversity Guidance. [online] London: Climate Disclosure Standard Board. Available from: https://www.cdsb.net/biodiversity [Access 14 June 2023].
  6. CDSB, 6. (2022) Social Guidance. [online] London: Climate Disclosure Standard Board. Available from: https://www.cdsb.net/what-we-do/corporate-reporting-social-issues [Access 14 June 2023].
Category:
แชร์บทความ
© 2025 PRE Sustainable Consultancy. All Rights Reserved
Web Design by CARE Digital
crossmenu