กรอบการรายงาน ESG แบบแนะนำที่นิยม: Value Reporting Foundation (VRF)

VRF ภายใต้มาตรฐาน SASB เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะช่วยในการพัฒนาการรายงานตามมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของ IFRS Sustainability Disclosure Standards ในขณะที่กรอบการรายงาน Integrated Reporting <IR> นำเสนอแนวทางการเชื่อมโยงในการเปิดเผยข้อมูลระหว่างข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ดังนั้นจึงเกิดการรวมเป็นหนึ่งของผู้ผลักดันเพื่อตอบสนองอุปสงค์ของตลาด (เป็นการรวมบริษัท นักลงทุน และผู้มีอำนาจควบคุม) และเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจภาพรวมของภูมิทัศน์ด้านความยั่งยืน ตามแนวทางการรวมเป็นหนึ่งนี้ Climate Disclosure Standards Board (CDSB) ก็ได้ถูกรวมเข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของ IFRS Foundation ด้วย (IFRS, 1., 2022) โดย VRF ที่รวมกับ IIRC มาก่อนหน้านี้ให้ความสำคัญกับการทำให้องค์กรสามารถบริหารจัดการ และตัดสินใจทางธุรกิจที่สอดคล้องกับสิ่งที่ SASB ให้ความสำคัญเพื่อช่วยให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจได้อยู่แล้ว ดังนั้นทั้ง 2 องค์กรจึงมีความเชื่อเดียวบนพื้นฐานว่าการรายงานสู่ภายนอกสามารถสร้างภาษากลางระหว่างองค์กรธุรกิจ และนักลงทุน อีกทั้งยังช่วยทั้งองค์กร และนักลงทุนให้เข้าใจถึงการสร้าง การคงอยู่ และการเสื่อมคุณค่าตามกาลเวลา VRF ประกอบไปด้วยชุดเครื่องมือที่แข็งแรงจาก 3 แหล่งที่มาดังนี้:

เมื่อใช้เครื่องมือต่างๆ ของ VRF ร่วมกันแล้วจะก่อให้เกิดวงจรการป้อนกลับของข้อมูลที่ต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้องค์กรธุรกิจ และนักลงทุนสามารถสื่อสารถึงคุณค่าองค์กร และการสร้าง การทำให้คงอยู่ และการทำให้เสื่อมคุณค่าตามกาลเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรต่างๆ ทั่วโลกได้ประโยชน์จากการเติมต็มของกรอบการรายงาน <IR> และมาตรฐานการรายงาน SASB ดังที่แสดงในรูปภาพที่ 1

รูปภาพที่ 1

ความชัดเจนในการใช้งานเครื่องมือต่างๆ ของ VRF ร่วมกัน

กรอบการรายงาน <IR> และมาตรฐานการรายงาน SASB คือสิ่งที่เติมเต็มกันและกันเพื่อให้องตค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถใช้เพื่อทำให้การรายงานมีความสมบูรณ์ เครื่องมือต่างๆ ที่ <IR> และ SASB เตรียมไว้ให้เป็นเครื่องมือสำคัญการรายยงานในรูปแบบของบริบท และกิจกรรมเชิงคุณภาพควบคู่ไปกับระบบการตรวจวัดเชิงปริมาณสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะ ท่ามกลางการเติบโตของขอบเขตการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับความยั่งยืน กรอบและมาตรฐานต่างๆ ถูกพัฒนาเพื่อเป็นพื้นฐานของชั้นการรายงานอันประกอบไปด้วยความตรงประเด็น การเปรียบเทียบได้ และความน่าเชื่อถือของข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ซึ่งแต่ละกรอบ และมาตรฐานก็จะมีประโยชน์ในการช่วยให้องค์กรต่างๆ เข้าใจ และรายงานเกี่ยวกับตัวขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับการสร้างคุณค่าในระยะยาวในรูปแบบที่แตกต่างกันตามแต่วัตถุประสงค์

กรอบการรายงาน <IR> ช่วยองค์กรต่างๆในการอธิบายถึงการสร้าง ทำให้คงอยู่ และการทำให้เสื่อมคุณค่าด้วยการแนะนำหลักการ และองค์ประกอบของประเด็นต่างๆ ที่องค์กรสามารถนำไปใช้ได้โดยมองสิ่งที่มากกว่าพฤติกรรมทางการเงินเพียงอย่างเดียว หลักการดังกล่าวช่วยให้องค์กรแสดงให้เห็นถึงการที่องค์กรบริหารจัดการทุนใน 6 รูปแบบ: ทุนทางการเงิน ทุนทางการผลิต ทุนทางปัญญา ทุนมนุษย์ ทุนความสัมพันธ์ทางสังคม และทุนทางธรรมชาติ การรายงานเชิงบูรณาการให้ประโยชน์ต่อทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยภายในก่อให้เกิดการสื่อสาร และความร่วมมือระหว่างแผนกต่างๆ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาการตัดสินใจโดยสร้างความเข้าใจเชิงลึกต่อทรัพยากร และความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวของธุรกิจ นอกจากนั้นการรายงานเชิงบูรณาการยังช่วยให้องค์กรสามารถประเมินการกำกับดูแลกิจการ การดำเนินการ และความคาดหวังในอนาคตภายใต้บริบทของสภาพแวดล้อมภายนอก รวมถึงช่วยในการนำเสนอภาพรวมของธุรกิจต่อนักลงทุน และผู้ใช้งานรายงานเชิงบูรณาการอื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยมาตรฐาน SASB เป็นตัวช่วยที่ทำให้ระเบียบวิธีที่เป็นหลักการพื้นฐานของกรอบการรายงาน <IR> สมบูรณ์ การรายงานเชิงบูรณาการนำเสนอบริบทที่สำคัญสำหรับสร้างความเข้าใจถึงจุดยืนของธุรกิจในปัจจุบัน ความคาดหวังในอนาคต และสถานการณ์แวดล้อมที่เกี่ยวข้องที่องค์กรสามารถดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายได้ต่อนักลงทุนโดยการนำเสนอคุณภาพของกระบวนการคิด และการวางแผนกลยุทธ์ของกรรมการบริหารอย่างลึกซึ้ง อย่างไรก็ตามการรายงานเชิงบูรณาการควรอยู่ในรูปแบบเชิงพรรณนาที่มีความกระชับ และมีการเชื่อมโยงของข้อมูลเพื่อที่จะสามารถนำเสนอคำอธิบายที่มีประโยชน์ และบริบทแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐาน SASB อีกด้านหนึ่งมาตรฐาน SASB ระบุถึงหน่วยย่อยของประเด็นด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) อันเป็นผลกระทบต่อสมรรถนะทางการเงินของธุรกิจตัวอย่างในอุตสาหกรรมต่างๆอย่างมีนัยสำคัญ องค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด และการตัดสินใจที่เป็นประโยชน์ต่อการรายงานโดยเริ่มจากการใช้หัวข้อหน่วยย่อยเหล่านี้ แล้วจึงค่อยพัฒนาการดำเนินการ และการเปิดเผยข้อมูลในปีต่อๆ ไป SASB จัดเตรียมมาตรฐาน และข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นด้าน ESG ต่างๆ ที่มีความสอดคล้อง เปรียบเทียบได้ และมีความน่าเชื่อถือที่สัมพันธ์กับสมรรถนะทางการเงิน และคุณค่าขององค์กรมากที่สุดให้กับนักลงทุน  อันประกอบด้วย 6 ประเด็นการเปิดเผยข้อมูล และ 13 การตรวจวัดการเปิดเผยข้อมูลในแต่ละอุตสาหกรรม ดังนั้นมาตรฐาน SASB จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับองค์กรต่างๆ ในการเริ่มต้นเส้นทางการรายงาน ESG โดยหลายๆ องค์กรธุรกิจใช้งานทั้งกรอบ <IR> และมาตรฐาน SASB ในการส่งเสริมข้อมูลซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากนั้นมาตรฐาน SASB ยังนำเสนอข้อมูลที่สามารถเปรียบเทียบได้ในแง่ความเสี่ยง และโอกาสธุรกิจที่สำคัญที่อยู่ในขอบเขตของการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินแบบดั้งเดิมอีกด้วย

ประโยชน์ทางธุรกิจต่อภายในองค์กร

                การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินกิจการถูกเข้าใจว่าทั้งซับซ้อน และสร้างความสับสนมาโดยตลอด เนื่องจากความกว้างของกรอบการรายงาน และมาตรฐานการรายงานที่สามารถทำให้เกิดความตึงเครียดในการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร ท่ามกลางความกว้างใหญ่ของภูมิทัศน์การรายงานนี้กรอบการรายงาน <IR> และมาตรฐาน SASB นำเสนอคำอธิบายที่มีประสิทธิภาพต่อการรายงานขององค์กรด้วยระบบที่แข็งแรงเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินการเปิดเผยข้อมูลทั้งด้านความยั่งยืน และการเงิน กรอบการรายงาน <IR> และมาตรฐาน SASB ได้จัดเตรียมแนวทางตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงการรายงานคุณภาพสูงในประเด็นที่นักลงทุนสนใจ กรอบการรายงาน <IR> จะช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใจ และสื่อสารเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร (ทุน) ได้ง่ายขึ้นผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการสร้างคุณค่าต่อองค์กรตลอดการดำเนินกิจการ ส่วนมาตรฐาน SASB ช่วยให้องค์กรสามารถรายงานข้อมูล ESG ที่สำคัญต่อธุรกิจ และสามารถเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นได้ด้วยข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวขับเคลื่อนที่เกี่ยวกับความยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะ และข้อมูลทั่วไปที่เป็นประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วไป โดยหลังจากที่ใช้กรอบการรายงาน SASB ในการช่วยรายงานแล้ว การรายงานจะฉายภาพของ 1) ความเข้มงวดในอุตสาหกรรมเฉพาะ 2) หลักฐานเชิงปริมาณที่เพียงพอต่อการสนับสนุนการบรรยายความในการรายงานเชิงบูรณาการและ 3) การเปรียบเทียบได้อย่างลึกซึ้งกับผู้เล่นที่อยู่ในระดับเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น Badische Anilin and Sodafabrik (BASF) สามารถเน้นการรายงานเกี่ยวกับประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ได้อย่างกระชับขึ้นเมื่อใช้มาตรฐาน SASB เช่นการบริหารจัดการขยะอันตราย หรือ Unilever ผู้จัดจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคสัญชาติอังกฤษที่สามารถระบุประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ส่วนตัว และผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนเช่น ผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากห่วงโซ่อุปทานน้ำมันปาล์มเป็นต้น (SASB Standards, 2021).

ประโยชน์ทางธุรกิจต่อภายนอกองค์กร และนักลงทุน

                องค์กรธุรกิจต่างๆสามารถใช้กรอบการรายงาน <IR> และกรอบ SASB ในการฉายภาพรวมการสร้างคุณค่าระยะยาวที่สมบูรณ์ในขณะที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักลงทุนได้ในเวลาเดียวกันด้วยข้อมูลที่มีคงามสอดคล้อง เปรียบเทียบได้ และน่าเชื่อถือ การรายงานด้วยการใช้ทั้ง 2 เครื่องมือสามารถช่วยส่งเสริมความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจขององค์กรที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุน และผู้สนับสนุนเงินทุนในด้านต่างๆ นักลงทุนต่างๆ ไม่ได้มีความต้องการเหมือนกันไปหมด พวกเขามีกลยุทธ์และการให้ความสำคัญกับการลงทุนที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นองค์กรธุรกิจควรมีการทำงานร่วมกับนักลงทุนโดยตรง เพื่อที่จะเข้าใจความต้องการ และสิ่งที่นักลงทุนสนใจอย่างแท้จริง รวมถึงในทางกลับกันองค์กรควรมีการบอกเล่าเรื่องราวขององค์กรให้นักลงทุนได้รับทราบด้วย กรอบการรายงาน <IR> และกรอบ SASB จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเพิ่มความแข็งแรง พัฒนา และสร้างความชัดเจนให้กับเรื่องราวการสร้างคุณค่าขององค์กร BASF ควบคุมแผนการดำเนินการ “ESG สู่การสร้างคุณค่า” เพื่อให้ความสำคัญ และเผยแพร่ความคิดริเริ่ม และการดำเนินการด้านความยั่งยืนต่างๆ โดยเ(พาะอย่างยิ่งการปล่อยตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) ครั้งแรกในปี 2020 โดย BASF พบว่าการรายงาน และการพัฒนาสมรรถนะด้านต่างๆ ช่วยเพิ่มการเข้าถึงแหล่งทุนทางการเงินไดมากขึ้นเป็นลำดับ และ BASF ทำให้ตราสารหนี้สีเขียวกลายเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญได้ ทั้งที่โดยปกติจะไม่ค่อยมีตราสารหนี้สีเขียวมนอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ BASF จึงถือว่านี่คือความสำเร็จขององค์กรที่ดเกิดจากการรายงานโดยใช้กรอบ <IR> นักลงทุนต่างๆ จึงพลอยได้ชื่อเสียงจากการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ และการดำเนินการด้าน ESG จนทำให้ตราสารหนี้สีเขียวของ BASF มีความข็งแกร่ง และน่าเชื่อถือ นักลงทุนให้ข้อมูลที่สำคัญเพิ่มเติมว่าความไว้วางใจที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากการเปิดเผยข้อมูลขององค์กร และการที่นักลงทุนสามารถเห็นได้ว่าเงินทุนถูกใช้ไปกับการบริหารจัดการธุรกิจในประเด็นที่เกี่ยวกับความยั่งยืนไหน และอย่างไรบ้าง อีกทั้งการเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐาน SASB ยังส่งผลกระทบต่อด้านนักลงทุนสัมพันธ์ในเชิงบวก เนื่องจากนักลงทุนมีความต้องการที่จะเห็นความสอดคล้อง การเปรียบเทียบได้ และความน่าเชื่อถือของข้อมูลอย่างจริงจัง และเนื่องจากธุรกิจของ BASF จัดเป็นอุตสาหกรรมเฉพาะจึงทำให้ระบบการตรวจวัดเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระทางการเงิน นอกเหนือจากนั้นมาตรฐาน SASB ยังสามารถผสมผสานการตัดสินใจด้าน ESG เข้ากับการตัดสินใจด้านการลงทุน และการดูแลในหลักทรัพย์ และสินทรัพย์ต่างๆ ขององค์กรในด้านอื่นๆ รวมถึงนำเสนอข้อมูลในการเปรียบเทียบ และวิเคราะห์ระบบนิเวศขององค์กรที่สนับสนุนการตัดสินใจในการลงทุนอีกด้วย

การสื่อสารจากภายในสู่ภายนอก

                การเปิดเผยข้อมูลด้วยกรอบ <IR> และมาตรฐาน SASB สามารถสร้างวงจรการสร้างข้อมูลป้อนกลับที่มั่นใจได้ระหว่างองค์กรธุรกิจ และนักลงทุน ความน่าเชื่อถือของวงจรการป้อนข้อมูลย้อนกลับนี้ช่วยในการสื่อสารถึงกระบวนการ และง่ายต่อการพัฒนาในอนาคตตลอดระยะเวลาดำเนินกิจการ และการรายงานถึงกระบวนการด้วยกรอบ <IR> และมาตรฐาน SASB จะสามารถสร้างวงจรการป้อนข้อมูลย้อนกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อองค์กรธุรกิจมีวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนเท่านั้นดังที่แสดงในรูปภาพที่ 2

รูปภาพที่ 2

โดยข้อมูลป้อนกลับทั้งหมดจะมีหน้าตาที่แตกต่างกันไปตามแต่ละองค์กร และจะถูกแสดงผลออกมาผ่านการกำหนดกลยุทธ์องค์กร การปรับเปลี่ยนระบบการบริหาร หรือการพัฒนากระบวนการกำกับดูแลกิจการ วงจรการป้อนข้อมูลย้อนกลับจะช่วยยืนยันว่าทรัพยากร (ทุน) ได้ถูกจัดสรรปันส่วนอย่างมีประสิทธิภาพในการได้มาซึ่งคุณค่าสูงสุด สำหรับทุกแผนการทั้งในระสั้น กลาง และยาว หลายองค์กรธุรกิจได้อธิบายถึงระเบียบวิธีแบบองค์รวมนี้ผ่านการบูรณาการความยั่งยืนหรือ ESG เข้ากับ DNA ขององค์กร ในทำนองเดียวกันประเด็นด้านความยั่งยืนต่างๆ ก็แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของแต่ละอุตสาหกรรม และการบูรณาการ ESG เข้ากับแต่ละหน่วยงานภายในองค์กรก็แตกต่างกันตามแต่ละรูปแบบการดำเนินธุรกิจเช่นกัน ดังนั้นการเปิดเผยข้อมูลด้วยกรอบ <IR> และมาตรฐาน SASB จึงเป็นมากกว่าการใช้เพื่อสื่อสาร แต่เครื่องมือเหล่านี้ยังช่วยในการทำลายกำแพงของการดำเนินการภายในองค์กร สร้างการเชื่อมโยงของการทำงานระหว่างหน่วยงานในองค์กร และยกระดับการตัดสินใจทางธุรกิจอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการคิดเชิงบูรณาการอันจะช่วยให้กรรมการ และคณะผู้บริหารได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการสร้างคุณค่าองค์กรของพวกเขาด้วย และพวกเขาจะมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร และความสัมพันธ์ (ข้อได้เปรียบ) ที่องค์กรพึ่งพาอยู่ ความเสี่ยงที่องค์กรเผชิญอยู่ และผลลัพธ์ทางการเงิน และไม่ใช่การเงินที่องค์กรสร้าง

การเสียสละเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

                การเปิดเผยข้อมูล และความโปร่งใสคือคำตอบ: ธุรกิจที่มีการรายงาน และการตัดสินใจที่ดีนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยองค์กรธุรกิจที่มีการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน และการรายงานเชิงบูรณาการแสดงให้เห็นถึงการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัฎจักรซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ นักลงทุน สังคม และโลกของเราดังแสดงในรูปภาพที่ 3

รูปภาพที่ 3

References:
  1. IFRS, 1. (2022) IFRS Foundation Completes Consolidation with Value Reporting Foundation. [online] Delaware: Integrated Reporting (now part of IFRS Foundation). Available from: https://www.ifrs.org/news-and-events/news/2022/08/ifrs-foundation-completes-consolidation-with-value-reporting-foundation/# [Access 21 June 2023].
  2. SASB Standards (2021) Complementary Tools: Using the <IR> Framework and SASB Standards Together. [online] Delaware: SASB Standards (now part of IFRS Foundation). Available from: https://sasb.org/knowledge-hub/complementary-tools-using-the-framework-and-sasb-standards-together/ [Access 21 June 2023].

กรอบการรายงาน ESG แบบแนะนำที่นิยม: International Integrated Reporting Council (IIRC)

The International Integrated Reporting Council (IIRC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 โดยมีเป้าหมายในการสร้างกรอบแนวคิดระดับสากลในการสื่อสารที่เกี่ยวกับการสร้างคุณค่าขององค์กรตามกาลเวลา โดยมีคณะกรรมการบริหาร IIRC เป็นผู้ควบคุมและตรวจสอบกลยุทธ์ การเงิน และการดำเนินการขององค์กรที่เป็นสมาชิกและที่กำลังจะเป็นสมาชิกของ International Integrated Reporting Framework Board The International Integrated Reporting Framework Board มีหน้าที่แนะนำในการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงกรอบการรายงานในทุกกรณี ก่อนจะเสนอต่อคณะกรรมาธิการของ International Integrated Reporting Framework Council ที่เป็นพื้นที่สำคัญในการประชุมอภิปรายขององค์กรเกี่ยวกับข้อคิดเห็นของตลาดในวงกว้างและมีสาระสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับการรายงานเชิงบูรณาการและแนวคิดเชิงบูรณาการ รวมถึงการกำหนดมาตรฐานสำหรับการจัดเตรียมและการสื่อสารในการให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และให้ข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับองค์กรเช่น ลักษณะ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ รวมถึงกลยุทธ์และวิธีการในการนำส่งกรอบการรายงานเชิงบูรณาการสู่ตลาด (Integrated Reporting, 1., 2023). ต่อมาในเดือนพฤศจิกายนปี 2554 IIRC ประกาศการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรในหลายส่วนเนื่องจากโครงสร้างเดิมมีความซับซ้อน ภายใต้รูปแบบการบริหารจัดการใหม่ช่วงการเปลี่ยนแปลงแรกก็สิ้นสุดลงในปลายปี 2557 โดย IIRC ถูกบริหารแบบองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเลขาธิการสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อเดิม รวมถึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลขึ้นมาใหม่หนึ่งชุดแทนรูปแบบการบริหารเดิม โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบบัญชี การแต่งตั้งโยกย้าย และการจ่ายค่าตอบแทนขององค์กร ณ จุดนี้ IIRC ได้สร้างรากฐานสำหรับรูปแบบการรายงานใหม่ขึ้นในปี 2558 เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถจัดเตรียมข้อมูลในการสื่อสารถึงการสร้างคุณค่าขององค์กรตามกาลเวลาได้กระชับและรัดกุมขึ้น IIRC ให้คำจำกัดความกระบวนการนี้ว่า “การรายงานเชิงบูรณาการ” หรือเรียกสั้นๆว่า <IR> โครงสร้างของ <IR> ประกอบไปด้วยการกำหนดเป้าหมายอย่างมีกลยุทธ์ การกำกับดูแลกิจการ และแบบจำลองธุรกิจ รวมถึงการบูรณาการระหว่างข้อมูลด้านการเงินและไม่ใช่การเงินโดยกรอบการรายงานเชิงบูรณาการมีวัตถุประสงค์เพื่อ:

(UK Accounting Plus, 2023). และ <IR> ตั้งเป้าที่จะ:

กรอบการรายงาน <IR> ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนประกอบไปด้วย แนวคิดพื้นฐาน (Fundamental Concepts), คำแนะนำทางหลักการ (Guidance Principles) และ องค์ประกอบหัวข้อ (Content Elements) อันดับแรกแนวคิดพื้นฐานช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับคำแนะนำและข้อกำหนดต่างๆของกรอบการรายงาน <IR> โดยการอธิบายถึงวิธีการที่องค์กรสร้าง ทำให้คงอยู่ และทำให้เสื่อมตามกาลเวลา ทั้งนี้คุณค่าไม่สามารถถูกสร้าง ทำให้คงอยู่ และทำให้เสื่อมได้ด้วยตัวองค์กรเท่านั้น หากแต่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับทรัพยากรต่างๆ ดังนี้:

รูปภาพที่ 1

รูปภาพที่ 2

7 คำแนะนำทางหลักการสนับสนุนการดำเนินการและการนำเสนอรายงานเชิงบูรณาการที่รายงานผ่านหัวข้อและวิธีการสื่อสารข้อมูลดังนี้:

นอกจากนี้ <IR> ยังประกอบไปด้วย 8 องค์ประกอบหัวข้อที่เป็นพื้นฐานในการเชื่อมโยงหัวข้อต่างๆ เข้าด้วยกัน และไม่เป็นการแยกกันโดยเด็ดขาด:

IIRC ถูกรวมเข้ากับ Sustainability Accounting Standard Board (SASB) Foundation และเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น Value Reporting Foundation (VRF) ในปี 2564 และคณะกรรมการบริหาร IIRC และคณะกรรมการบริหาร SASB Foundation ถูกควบรวมกันเพื่อก่อตั้งเป็นคณะกรรมการบริหาร Value Reporting Foundation Board of Directors (“the VRF Board”) คณะกรรมการบริหาร VRF มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลกลยุทธ์ การเงิน และการดำเนินกิจการขององค์กรและสมาชิกของ  International Integrated Reporting Framework Board (IIRF) (Integrated Reporting, 2021). จากนั้นในปี 2565 IFRS Foundation ประกาศการควบรวม VRF เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ IFRS Foundation. The International Accounting Standards Board (IASB) และ the International Sustainability Standards Board (ISSB) ของ IFRS Foundation มีกลไกการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างกรอบการรายงานเชิงบูรณาการให้ตอบโจทย์แผนงาน และข้อกำหนดต่างๆของ IFRS การควบรวมพนักงานและทรัพยากรต่างๆ นี้ถูกดำเนินการตามข้อตกลงในการประชุม COP26 อันจะนำไปสู่การเป็นผู้นำด้านการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล และช่วยพัฒนา International Sustainability Standards Board’s (ISSB) ฉบับใหม่ที่ครอบคลุมมาตรฐานความยั่งยืนในระดับสากลให้กับตลาดทุน ทั้งนี้การรายงานเชิงบูรณาการช่วยให้องค์กรธุรกิจคิดถึงภาพรวมกลยุทธ์ที่สร้างความมั่นใจให้นักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งยังช่วยพัฒนาสมรรถนะการดำเนินกิจการอีกด้วย ในปัจจุบันการรายงานเชิงบูรณาการถูกใช้ในกว่า 2,500 องค์กรใน 75 ประเทศทั่วโลก และได้รับการสนับสนุนจากกว่า 40 ตลาดหลักทรัพย์ โดยมีองค์กรที่ได้ประโยชน์จากการรายงานเชิงบูรณาการมากขึ้นเรื่อยๆ ในแง่ของการตัดสินใจทางธุรกิจ และการสร้างคุณค่าระยะยาว (Integrated Reporting, 3., 2021)

International References:

  1. UK Accounting Plus (2023) International Integrated Reporting Council (IIRC). [online] London: Deloitte. Available from https://www.iasplus.com/en-gb/resources/global-organisations/iirc [Access 21 June 2023].
  2. Integrated Reporting, 1. (2023) Governance Archive. [online] Delaware: Integrated Reporting (now part of IFRS Foundation). Available from: https://www.integratedreporting.org/the-iirc-2/governance-archive/ [Access 21 June 2023].
  3. Integrated Reporting, 2. (2021) International <IR> Framework. [online] Delaware: Integrated Reporting (now part of IFRS Foundation). Available from: https://www.integratedreporting.org/resource/international-ir-framework/ [Access 21 June 2023].
  4. Integrated Reporting, 3. (2021) Transition to Integrated Reporting: A Guide to Getting Started. [online] Delaware: Integrated Reporting (now part of IFRS Foundation). Available from: https://www.integratedreporting.org/news/transition-to-integrated-reporting-a-guide-to-getting-started/ [Access 21 June 2023].