กรอบการรายงาน ESG แบบสมัครใจที่นิยม: Global Real Estate Sustainability Benchmark (GRESB)

GRESB เป็นเกณฑ์มาตรฐาน ESG ในระดับสากลสำหรับตลาดการเงิน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2552 จากการรวมตัวขององค์กรอิสระ และองค์กรที่ได้ประโยชน์ องค์กร GRESB ให้ความสำคัญกับการพัฒนา รับรอง และบริหารจัดการเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ของ GRESB ในขณะที่  GRESB BV ทำหน้าที่ในการประเมิน และให้บริการที่เกี่ยวข้องกับสมาชิก GRESB ปัจจุบันขึ้นตรงกับการตัดสินใจของสมาชิกระดับสูง  GRESB เป็นหนึ่งในองค์กรที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม และผลักดันให้เกิดการปฏิบัติโดยการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) ที่โปร่งใส และปฏิบัติได้จริงสู่ตลาดการเงิน โดยในปี 2565 เกณฑ์มาตรฐานด้านอสังหาริมทรัพย์ได้ถูกนำไปใช้โดยกว่า 1,800 บริษัทอสังหาริมทรัพย์, กองทรัสท์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs), กองทุน และบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นอกเหนือจากนั้น GRESB ยังครอบคลุมไปถึงงานโครงสร้างพื้นฐานกว่า 800 กองทุน และสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน รวมกันแล้ว GREASB ฉายให้เห็นภาพของมูลค่าของสินทรัพย์ที่จับต้องได้ถึง 8.6 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ และกว่า 170 ผู้ลงทุนสถาบันใช้ข้อมูลจาก GRESB ในการติดตามการลงทุน ทำงานร่วมกับผู้จัดการของพวกเขา และตัดสินใจเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนที่มากขึ้นในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ GRESB Foundation เป็นผู้ถือครองสิทธิ และการกำกับดูแลเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด อีกทั้งเป็นเวทีสำคัญสำหรับการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ผ่านการประเมินของ GRESB BV ซึ่งเป็นอีกหนึ่งนิติบุคคลที่แยกออกมาจาก GRESB Foundation มีหน้าที่ตรวจประเมินรายงานต่างๆ บนพื้นฐานการสร้างผลกำไรเพื่อบรรลุเป้าหมาย The GRESB Foundation, GRESB BV และสมาชิกGRESB ต้องทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อนำเสนอวิสัยทัศน์การแบ่งปันในชุมชนแห่งการลงทุน อันเป็นฟันเฟืองสำคัญในการสร้างโลกที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการเป็นพื้นที่ที่สังคมปัจจุบันสามารถบรรลุความต้องการต่างๆ ได้โดยไม่เป็นภัยต่อการบรรลุความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต และด้วยการที่เป็นองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นเพื่อกำหนดมาตรฐานต่างๆ GRESB Foundation ต้องทำงานในการริเริ่ม รักษา พัฒนา และตีพิมพ์ เกณฑ์มาตรฐานต่างๆ แบบปีต่อปี และต้องทันเวลาที่ GRESB BV จะทำการประเมิน โดยหน้าที่สำคัญของ GRESB Foundation ประกอบด้วย:

มาตรฐานต่างๆ ของ GRESB เป็นชุดคำแนะนำเพื่อการประเมิน และการเป็นมาตรฐานสำหรับการรายงาน ESG และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์อื่น มาตรฐานเหล่านี้ครอบคลุมถึงคำถาม หลักฐาน ตัวชี้วัด และการให้ค่าสำหรับตัวชี้วัดต่างๆ ที่ใช้ในการประเมินการดำเนินการด้าน ESG ในวันที่ 14 กันยายน 2565 คณะกรรมการบริหาร GRESB Foundation อนุมัติการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับการแนะนำมาทั้งหมดเพื่อใช้ในมาตรฐาน GRESB ฉบับ 2023 และนี่คือผลลัพธ์ที่สำคัญของกระบวนการพัฒนามาตรฐานต่างๆ ของ GRESB เพื่อผลักดันให้สมาชิก และหุ้นส่วนของ GRESB อยู่แถวหน้าในด้าน ESG ในระดับสากล (GRESB 1, 2023)

พันธสัญญาต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

กลยุทธ์ในการทำพันธสัญญากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ GRESB ถูกสร้างขึ้นโดยมรพื้นฐานจาก the AA1000 AccountAbility Stakeholder Engagement Standard (2015) and references the ISEAL Alliance Standard-setting Code of Good Practice ที่อธิบายถึงแนวทางการริเริ่ม สร้าง และพัฒนา มาตรฐานความยั่งยืนตามกาลเวลา และเพื่อเป็นการยืนยันว่าพันธสัญญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะถูกฝังรากในองค์กร GRESB ให้คำมั่นสัญญาตามหลักการของ the AccountAbility ที่ว่าด้วยความครอบคลุม สาระสำคัญ การตอบสนอง และผลกระทบ (AccountAbility, 2018) สำหรับ GRESB ภูมิทัศน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียค่อนข้างซับซ้อนเนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบางกลุ่มมีการทับซ้อนกันในแง่ของบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ:

GRESB มีบทบาทสำคัญในโลกของอสังหาริมทรัพย์ยั่งยืน และมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีการดำเนินการภายใต้บริบทของ ESG และกล่าวได้ว่าพวกเขาไม่สามารถและไม่ควรที่จะมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนในลักษณะ หรือระดับเดียวกัน ดังนั้นตาราง “interest-influence” จึงช่วยในการแสดงให้เห็นถึงแนวทางการปฏิบัติต่อสมาชิกที่เป็นนักลงทุน สมาชิกผู้มีส่วนร่วมทั่วไป และหุ้นส่วนของ GRESB ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติพื้นฐานใน GRESB Foundation อยู่แล้วดังแสดงในรูปภาพที่ 1

รูปภาพที่ 1

จะเห็นได้ว่า “กรอบการรายงาน ESG ที่จูงใจ” เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นรองเพียงสมาชิก และหุ้นส่วนเท่านั้นที่ให้ความสำคัญกับกรอบการรายงานมากที่สุด สำหรับกรอบการรายงานต่างๆ GRESB มีการร่วมมือแบบทวิภาคีผ่านการเป็นตัวแทนให้กับคณะกรรมาธิการ และคณะทำงานหลายหน่วยงานอาทิ Principles for Responsible Investment (PRI) The Global Reporting Initiative (GRI), The Sustainability Accounting Standards Board (SASB), The International <IR> Framework, EU Sustainable Finance Disclosure Regulation (SFDR), Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD), Carbon Disclosure Project (CDP) (GRESB 2, 2023). โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sustainable Finance Disclosure Regulation (SFDR) ของสหภาพยุโรปที่เป็นข้อกำหนดเพื่อความโปร่งใสฉบับใหม่สำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตลาดการเงินและสัมพันธ์กับเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) ต่างๆ  โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความโปร่งใส และอัตราการลงทุนโดยตรงของนักลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน โดย SFDR กำหนดให้มีเกณฑ์ที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของผู้มีส่วนร่วมในตลาดการเงิน โดยมากจะขึ้นอยู่กับขนาด และธรรมชาติของสินค้า และ/หรือบริการ ผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดในสหภาพยุโรปจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการด้านความยั่งยืนทั้งแก่นแท้ของธุรกิจ และสินค้า และ/ หรือบริการของพวกเขา รวมถึงพวกเขาจะต้องรายงานถึง Principle Adverse Impacts (PAIs) ที่เป็นชุดของตัวชี้วัดต่างๆที่ครอบคลุมประเด็น ESG ทั้งหมดเช่น ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการบริหารจัดการขยะ เนื่องจากในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่ไม่มีการเปิดเผย หรือเก็บข้อมูลเรื่องผลกระทบที่ละเอียดพอต่อความต้องการ หรือข้อมูลที่นำเสนอต่อนักลงทุนไม่โปร่งใสในระดับที่เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนั้น GRESB จึงนำเสนอรูปแบบการประเมินเพื่อเป็นกรอบให้กับผู้มีส่วนร่วมในตลาดการเงินทุกภาคส่วนในการ “แถลงการดำเนินการที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบ”  รูปแบบการประเมินประกอบไปด้วย 60 ระบบการตรวจวัดด้าน ESG ที่จำเป็นสำหรับการรายงาน (GRESB 3, 2023) การประเมินของ SFDR ประกอบไปด้วยหลากหลายมุมมองที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องรายงานดังนี้:

การประเมินของ SFDR ถูกแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงบัญชีที่แตกต่างกันของ PAIs ตามที่สหภาพยุโรปกำหนด 3 แบบประเมินถูกใช้เพื่อประเมินการดำเนินการด้าน ESG ใน 3 ส่วนคือ การบริหารจัดการ การดำเนินการ และการพัฒนา โดยในส่วนของระเบียบวิธีนั้นประกอบไปด้วยขอบเขตที่ต่างกันออกไปตามเครื่องมือในการลงทุน และประเภทของอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งยังต้องสอดคล้องไปกับกรอบการรายงานสากลเช่น TCFD, GRI, หรือ PRI การประเมินด้านอส้งหาริมทรัพย์ของ GRESB ได้เตรียมเครื่องมือ และข้อมูลที่นักลงทุนสามารถนำไปใช้เพื่อติดตาม และบริหารความเสี่ยง และโอกาสด้าน ESG สำหรับการลงทุนได้จริง รวมไปถึงใช้เพื่อเตรียมตัวสำหรับการบังคับใช้ ESG ที่เข้มงวดขึ้นในอนาคต 3 บัญชีดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้:

บัญชีที่ 1: ตัวชี้วัดเกี่ยวกับข้อบังคับทางสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม สังคม และพนักงาน ประเด็นทางสังคม และพนักงาน การเคารพสิทธิมนุษยชน การต่อต้านการทุจริต และการต่อต้านการติดสินบน บัญชีที่ 1 ให้ความสำคัญกับ 14 ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมที่สามารถนำไปใช้สำหรับการลงทุนในบริษัทต่างๆ ที่ลงทุน และ 2 ตัวชี้วัดที่นำไปใช้การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะที่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลสำหรับผู้ที่มีส่วนร่วมในตลาดการเงิน ทั้งหมดนี้เป็น “ตัวชี้วัดบังคับที่จำเป็นต้องรายงาน” บัญชีที่ 1 จึงประกอบไปด้วย 16 ตัวชี้วัดใน 7 ด้านดังนี้:

  1. การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  2. ความหลากหลายทางชีวภาพ
  3. น้ำ
  4. ขยะ
  5. ประเด็นด้านสังคม และพนักงาน
  6. เชื้อเพลิงฟิสซิล (ตัวชี้วัดเฉพาะสำหรับอสังหาริมทรัพย์)
  7. ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (ตัวชี้วัดเฉพาะสำหรับอสังหาริมทรัพย์)

บัญชีที่ 2: ตัวชี้วัดเพิ่มเติมทางสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม โดยหัวข้อเหล่านี้ถูกพิจารณาให้เป็นทางเลือกเท่านั้น ถึงแม้ว่า “ผู้มีส่วนร่วมจะต้องรายงานด้วยตัวชี้วัดเพิ่มเติมอย่างน้อย 1 ตัวชี้วัด” เพื่อเป็นการปฏิบัติตามข้อบังคับก็ตาม บัญชีที่ 2 ประกอบไปด้วย 16 ตัวชี้วัดที่สามารถนำไปใช้สำหรับการลงทุนในบริษัทต่างๆ ที่ลงทุน และ 5 ตัวชี้วัดที่นำไปใช้การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะใน 9 ด้านดังนี้:

  1. การปล่อยมลพิษ
  2. การดำเนินการด้านพลังงาน
  3. การปล่อยมลพิษจากน้ำ ขยะ และวัตถุ (สสาร)
  4. มาตรการรักษาความมั่นคงสีเขียว
  5. การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ตัวชี้วัดเฉพาะสำหรับอสังหาริมทรัพย์)
  6. การใช้พลังงาน (ตัวชี้วัดเฉพาะสำหรับอสังหาริมทรัพย์)
  7. ขยะ Waste (ตัวชี้วัดเฉพาะสำหรับอสังหาริมทรัพย์)
  8. การใช้ทรัพยากร (ตัวชี้วัดเฉพาะสำหรับอสังหาริมทรัพย์)
  9. ความหลากหลายทางชีวภาพ (ตัวชี้วัดเฉพาะสำหรับอสังหาริมทรัพย์)

บัญชีที่ 3: ตัวชี้วัดเพิ่มเติมในประเด็นทางสังคม และพนักงาน การเคารพสิทธิมนุษยชน การต่อต้านการทุจริต และการต่อต้านการติดสินบน โดยหัวข้อเหล่านี้ถูกพิจารณาให้เป็นทางเลือกเท่านั้น ถึงแม้ว่า “ผู้มีส่วนร่วมจะต้องรายงานด้วยตัวชี้วัดเพิ่มเติมอย่างน้อย 1 ตัวชี้วัด” เพื่อเป็นการปฏิบัติตามข้อบังคับก็ตาม บัญชีที่ 3 ประกอบไปด้วย 17 ตัวชี้วัดใน 3 ด้านดังนี้:

  1. ประเด็นทางสังคม และพนักงาน Social and employee matters
  2. สิทธิมนุษยชน Human rights
  3. การต่อต้านการทุจริต และการติดสินบน

ประเด็นต่างๆใน 3 บัญชีที่กล่าวมาข้างต้นจะถูกรายงานผ่านเครื่องมือ (ออนไลน์) ที่ช่วยผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการเสนอรายงานดังต่อไปนี้:

เครื่องมือเหล่านี้ถูกออกแบบเพื่อให้การประมวลผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มประสทธิภาพของข้อมูลยกตัวอย่างเช่น

*หมายเหตุ คำว่า “บัญชี” ในที่นี้ใช้เพื่อการอ้างอิงถึงตัวชี้วัดต่างๆ ในประเด็นที่เป็นข้อบังคับ และประเด็นเพิ่มเติมตามแม่แบบที่สหภาพยุโรปกำหนดเท่านั้น หากแต่ในการประเมินของ SFDR นั้นไม่ได้ใช้คำว่า “บัญชี” ตามความหมายนี้ แต่ใช้รูปแบบ “ตาราง” ในการรายงาน

เป้าหมายการประเมินต่างๆ ของ GRESB คือเพื่อเก็บข้อมูลสำคัญด้าน ESG ที่เชื่อมโยงกับการดำเนินการด้านความยั่งยืนของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ บริษัทโครงสร้างพื้นฐาน และสินทรัพย์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลและความเข้าใจอย่างถ่องแท้เหล่านี้เกิดจากการที่นักลงทุนใช้ข้อมูลในการประเมินการเปิดเผยข้อมูลขององค์กรเกี่ยวกับความเสี่ยงมากมาย และโอกาสใหม่ไ ในการลงทุนในองค์กรที่มีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างชัดเจน ในรายละเอียดของโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ ภายใต้กระบวนการพัฒนาได้มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานต่างๆ ในปี  2023 โดยมีการเชื่อมโยงกับกรอบการรายงานอื่นมากขึ้นดังที่แสดงในตารางที่ 1

อสังหาริมทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน
IR FrameworkCDP
CDPPRI
SASBGRI
GRISASB
PRI 
ตารางที่ 1

GRESB มีการจัดตารางวิเคราะห์ตัวชี้วัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแต่ละกรอบการรายงานภายนอก ซึ่งสามารถนำมาเทียบเคียงกับตัวชี้วัดที่เฉพาะเจาะจงในมาตรฐานของ GRESB ได้ อีกทั้ง GRESB ได้วิเคราะห์ระดับความสอดคล้องระหว่างตัวชี้วัดของ GRESB กับตัวชี้วัดของกรอบการรายงานภายนอกด้วย (GRESB 7, 2023). GRESB มีการเก็บ ตรวจสอบ ให้คะแนน และสร้างเกณฑ์มาตรฐานของข้อมูลด้าน ESG อย่างเป็นอิสระเพื่อที่จะนำเสนอความรู้ทางธุรกิจ เครื่องมือสำหรับการทำงาน และคำอธิบายข้อกำหนดการรายงานสำหรับนักลงทุน ผู้จัดการสินทรัพย์ ในอุตสาหกรรมที่กว้างขึ้น GRES มีหลักการที่เข้มงวด และกรอบการรายงานที่สอดคล้องเพื่อประเมินการดำเนินการด้าน  ESG ของสินทรัพย์ส่วนบุคคล และกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนบนพื้นฐานของการเปิดเผยข้อมูลด้วยตนเอง โดยการประเมินการดำเนินการต่างๆ จะได้รับการแนะนำโดยอ้างอิงจากสิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่ และอุตสาหกรรมในวงกว้างคิดว่าเป็นสาระสำคัญ และคำแนะนำเหล่านั้นจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อตกลงปารีส หรือกรอบการรายงานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สมาชิก GRESB จะต้องรายงานข้อมูลเหล่านั้นผ่านเครื่องมือการประเมินของ GRESB ในทุกรอบปีปฏิทิน และจะต้องผ่านการรับรอง และให้คะแนนโดยบุคคลที่สามก่อนที่จะเกิดเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมดังนี้:

โดยแต่ละปี GRESB จะตีพิมพ์ข้อมูลมาตรฐ่านที่เป็นผลรวมการใช้เกณฑ์ในระดับสากลที่แสดงให้เห็นสถานการณ์ปัจจุบั342นของ ESG ในอุตสาหกรรม ตัวเกณฑ์เองจะถูกพัฒนาตลอดเวลาเพื่อทำให้แน่ใจว่าผลคะแนนสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินการ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามที่คาดหวัง (GRESB 8, 2023)

References:

AccountAbility (2018) AA1000 AccountAbility Principles. [online] New York: AccountAbility. Available from: https://www.accountability.org/standards/aa1000-accountability-principles/ [Accessed on 19 July 2023].

GRESB 1 (2023) GRESB Foundation. [online] Amsterdam: Global Real Estate Sustainability Benchmark. Available from: https://www.gresb.com/nl-en/gresb-foundation/ [Accessed on 17 July 2023].

GRESB 2 (2023) ESG Frameworks and Stakeholder Engagement. [online] Amsterdam: Global Real Estate Sustainability Benchmark. Available from: https://www.gresb.com/nl-en/esg-frameworks-and-stakeholder-engagement/ [Accessed on 17 July 2023].

GRESB 3 (2023) SFDR Reporting Solution. [online] Amsterdam: Global Real Estate Sustainability Benchmark. Available from: https://www.gresb.com/nl-en/products/sfdr-reporting/ [Accessed on 17 July 2023].

GRESB 4 (2023) GRESB Documents. [online] Amsterdam: Global Real Estate Sustainability Benchmark. Available from: https://documents.gresb.com/ [Accessed on 17 July 2023].

GRESB 5 (2023) Partner Directory. [online] Amsterdam: Global Real Estate Sustainability Benchmark. Available from: https://www.gresb.com/nl-en/gresb-partners/ [Accessed on 22 July 2023].

GRESB 6 (2023) GRESB Real Asset Spreadsheet. [online] Amsterdam: Global Real Estate Sustainability Benchmark. Available from: https://www.gresb.com/nl-en/?s=asset+spreadsheet [Accessed on 22 July 2023].

GRESB 7 (2023) How GRESB Aligns with Common ESG Reporting Frameworks. [online] Amsterdam: Global Real Estate Sustainability Benchmark. Available from https://www.gresb.com/nl-en/how-gresb-aligns-with-common-esg-reporting-frameworks/ [Accessed on 17 July 2023].

GRESB 8 (2023) How We Work. [online] Amsterdam: Global Real Estate Sustainability Benchmark. Available from: https://www.gresb.com/nl-en/about-us/ [Accessed on 17 July 2023].

กรอบการรายงาน ESG แบบแนะนำที่นิยม: Value Reporting Foundation (VRF)

VRF ภายใต้มาตรฐาน SASB เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะช่วยในการพัฒนาการรายงานตามมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของ IFRS Sustainability Disclosure Standards ในขณะที่กรอบการรายงาน Integrated Reporting <IR> นำเสนอแนวทางการเชื่อมโยงในการเปิดเผยข้อมูลระหว่างข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ดังนั้นจึงเกิดการรวมเป็นหนึ่งของผู้ผลักดันเพื่อตอบสนองอุปสงค์ของตลาด (เป็นการรวมบริษัท นักลงทุน และผู้มีอำนาจควบคุม) และเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจภาพรวมของภูมิทัศน์ด้านความยั่งยืน ตามแนวทางการรวมเป็นหนึ่งนี้ Climate Disclosure Standards Board (CDSB) ก็ได้ถูกรวมเข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของ IFRS Foundation ด้วย (IFRS, 1., 2022) โดย VRF ที่รวมกับ IIRC มาก่อนหน้านี้ให้ความสำคัญกับการทำให้องค์กรสามารถบริหารจัดการ และตัดสินใจทางธุรกิจที่สอดคล้องกับสิ่งที่ SASB ให้ความสำคัญเพื่อช่วยให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจได้อยู่แล้ว ดังนั้นทั้ง 2 องค์กรจึงมีความเชื่อเดียวบนพื้นฐานว่าการรายงานสู่ภายนอกสามารถสร้างภาษากลางระหว่างองค์กรธุรกิจ และนักลงทุน อีกทั้งยังช่วยทั้งองค์กร และนักลงทุนให้เข้าใจถึงการสร้าง การคงอยู่ และการเสื่อมคุณค่าตามกาลเวลา VRF ประกอบไปด้วยชุดเครื่องมือที่แข็งแรงจาก 3 แหล่งที่มาดังนี้:

เมื่อใช้เครื่องมือต่างๆ ของ VRF ร่วมกันแล้วจะก่อให้เกิดวงจรการป้อนกลับของข้อมูลที่ต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้องค์กรธุรกิจ และนักลงทุนสามารถสื่อสารถึงคุณค่าองค์กร และการสร้าง การทำให้คงอยู่ และการทำให้เสื่อมคุณค่าตามกาลเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรต่างๆ ทั่วโลกได้ประโยชน์จากการเติมต็มของกรอบการรายงาน <IR> และมาตรฐานการรายงาน SASB ดังที่แสดงในรูปภาพที่ 1

รูปภาพที่ 1

ความชัดเจนในการใช้งานเครื่องมือต่างๆ ของ VRF ร่วมกัน

กรอบการรายงาน <IR> และมาตรฐานการรายงาน SASB คือสิ่งที่เติมเต็มกันและกันเพื่อให้องตค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถใช้เพื่อทำให้การรายงานมีความสมบูรณ์ เครื่องมือต่างๆ ที่ <IR> และ SASB เตรียมไว้ให้เป็นเครื่องมือสำคัญการรายยงานในรูปแบบของบริบท และกิจกรรมเชิงคุณภาพควบคู่ไปกับระบบการตรวจวัดเชิงปริมาณสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะ ท่ามกลางการเติบโตของขอบเขตการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับความยั่งยืน กรอบและมาตรฐานต่างๆ ถูกพัฒนาเพื่อเป็นพื้นฐานของชั้นการรายงานอันประกอบไปด้วยความตรงประเด็น การเปรียบเทียบได้ และความน่าเชื่อถือของข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ซึ่งแต่ละกรอบ และมาตรฐานก็จะมีประโยชน์ในการช่วยให้องค์กรต่างๆ เข้าใจ และรายงานเกี่ยวกับตัวขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับการสร้างคุณค่าในระยะยาวในรูปแบบที่แตกต่างกันตามแต่วัตถุประสงค์

กรอบการรายงาน <IR> ช่วยองค์กรต่างๆในการอธิบายถึงการสร้าง ทำให้คงอยู่ และการทำให้เสื่อมคุณค่าด้วยการแนะนำหลักการ และองค์ประกอบของประเด็นต่างๆ ที่องค์กรสามารถนำไปใช้ได้โดยมองสิ่งที่มากกว่าพฤติกรรมทางการเงินเพียงอย่างเดียว หลักการดังกล่าวช่วยให้องค์กรแสดงให้เห็นถึงการที่องค์กรบริหารจัดการทุนใน 6 รูปแบบ: ทุนทางการเงิน ทุนทางการผลิต ทุนทางปัญญา ทุนมนุษย์ ทุนความสัมพันธ์ทางสังคม และทุนทางธรรมชาติ การรายงานเชิงบูรณาการให้ประโยชน์ต่อทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยภายในก่อให้เกิดการสื่อสาร และความร่วมมือระหว่างแผนกต่างๆ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาการตัดสินใจโดยสร้างความเข้าใจเชิงลึกต่อทรัพยากร และความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวของธุรกิจ นอกจากนั้นการรายงานเชิงบูรณาการยังช่วยให้องค์กรสามารถประเมินการกำกับดูแลกิจการ การดำเนินการ และความคาดหวังในอนาคตภายใต้บริบทของสภาพแวดล้อมภายนอก รวมถึงช่วยในการนำเสนอภาพรวมของธุรกิจต่อนักลงทุน และผู้ใช้งานรายงานเชิงบูรณาการอื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยมาตรฐาน SASB เป็นตัวช่วยที่ทำให้ระเบียบวิธีที่เป็นหลักการพื้นฐานของกรอบการรายงาน <IR> สมบูรณ์ การรายงานเชิงบูรณาการนำเสนอบริบทที่สำคัญสำหรับสร้างความเข้าใจถึงจุดยืนของธุรกิจในปัจจุบัน ความคาดหวังในอนาคต และสถานการณ์แวดล้อมที่เกี่ยวข้องที่องค์กรสามารถดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายได้ต่อนักลงทุนโดยการนำเสนอคุณภาพของกระบวนการคิด และการวางแผนกลยุทธ์ของกรรมการบริหารอย่างลึกซึ้ง อย่างไรก็ตามการรายงานเชิงบูรณาการควรอยู่ในรูปแบบเชิงพรรณนาที่มีความกระชับ และมีการเชื่อมโยงของข้อมูลเพื่อที่จะสามารถนำเสนอคำอธิบายที่มีประโยชน์ และบริบทแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐาน SASB อีกด้านหนึ่งมาตรฐาน SASB ระบุถึงหน่วยย่อยของประเด็นด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) อันเป็นผลกระทบต่อสมรรถนะทางการเงินของธุรกิจตัวอย่างในอุตสาหกรรมต่างๆอย่างมีนัยสำคัญ องค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด และการตัดสินใจที่เป็นประโยชน์ต่อการรายงานโดยเริ่มจากการใช้หัวข้อหน่วยย่อยเหล่านี้ แล้วจึงค่อยพัฒนาการดำเนินการ และการเปิดเผยข้อมูลในปีต่อๆ ไป SASB จัดเตรียมมาตรฐาน และข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นด้าน ESG ต่างๆ ที่มีความสอดคล้อง เปรียบเทียบได้ และมีความน่าเชื่อถือที่สัมพันธ์กับสมรรถนะทางการเงิน และคุณค่าขององค์กรมากที่สุดให้กับนักลงทุน  อันประกอบด้วย 6 ประเด็นการเปิดเผยข้อมูล และ 13 การตรวจวัดการเปิดเผยข้อมูลในแต่ละอุตสาหกรรม ดังนั้นมาตรฐาน SASB จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับองค์กรต่างๆ ในการเริ่มต้นเส้นทางการรายงาน ESG โดยหลายๆ องค์กรธุรกิจใช้งานทั้งกรอบ <IR> และมาตรฐาน SASB ในการส่งเสริมข้อมูลซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากนั้นมาตรฐาน SASB ยังนำเสนอข้อมูลที่สามารถเปรียบเทียบได้ในแง่ความเสี่ยง และโอกาสธุรกิจที่สำคัญที่อยู่ในขอบเขตของการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินแบบดั้งเดิมอีกด้วย

ประโยชน์ทางธุรกิจต่อภายในองค์กร

                การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินกิจการถูกเข้าใจว่าทั้งซับซ้อน และสร้างความสับสนมาโดยตลอด เนื่องจากความกว้างของกรอบการรายงาน และมาตรฐานการรายงานที่สามารถทำให้เกิดความตึงเครียดในการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร ท่ามกลางความกว้างใหญ่ของภูมิทัศน์การรายงานนี้กรอบการรายงาน <IR> และมาตรฐาน SASB นำเสนอคำอธิบายที่มีประสิทธิภาพต่อการรายงานขององค์กรด้วยระบบที่แข็งแรงเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินการเปิดเผยข้อมูลทั้งด้านความยั่งยืน และการเงิน กรอบการรายงาน <IR> และมาตรฐาน SASB ได้จัดเตรียมแนวทางตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงการรายงานคุณภาพสูงในประเด็นที่นักลงทุนสนใจ กรอบการรายงาน <IR> จะช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใจ และสื่อสารเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร (ทุน) ได้ง่ายขึ้นผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการสร้างคุณค่าต่อองค์กรตลอดการดำเนินกิจการ ส่วนมาตรฐาน SASB ช่วยให้องค์กรสามารถรายงานข้อมูล ESG ที่สำคัญต่อธุรกิจ และสามารถเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นได้ด้วยข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวขับเคลื่อนที่เกี่ยวกับความยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะ และข้อมูลทั่วไปที่เป็นประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วไป โดยหลังจากที่ใช้กรอบการรายงาน SASB ในการช่วยรายงานแล้ว การรายงานจะฉายภาพของ 1) ความเข้มงวดในอุตสาหกรรมเฉพาะ 2) หลักฐานเชิงปริมาณที่เพียงพอต่อการสนับสนุนการบรรยายความในการรายงานเชิงบูรณาการและ 3) การเปรียบเทียบได้อย่างลึกซึ้งกับผู้เล่นที่อยู่ในระดับเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น Badische Anilin and Sodafabrik (BASF) สามารถเน้นการรายงานเกี่ยวกับประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ได้อย่างกระชับขึ้นเมื่อใช้มาตรฐาน SASB เช่นการบริหารจัดการขยะอันตราย หรือ Unilever ผู้จัดจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคสัญชาติอังกฤษที่สามารถระบุประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ส่วนตัว และผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนเช่น ผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากห่วงโซ่อุปทานน้ำมันปาล์มเป็นต้น (SASB Standards, 2021).

ประโยชน์ทางธุรกิจต่อภายนอกองค์กร และนักลงทุน

                องค์กรธุรกิจต่างๆสามารถใช้กรอบการรายงาน <IR> และกรอบ SASB ในการฉายภาพรวมการสร้างคุณค่าระยะยาวที่สมบูรณ์ในขณะที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักลงทุนได้ในเวลาเดียวกันด้วยข้อมูลที่มีคงามสอดคล้อง เปรียบเทียบได้ และน่าเชื่อถือ การรายงานด้วยการใช้ทั้ง 2 เครื่องมือสามารถช่วยส่งเสริมความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจขององค์กรที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุน และผู้สนับสนุนเงินทุนในด้านต่างๆ นักลงทุนต่างๆ ไม่ได้มีความต้องการเหมือนกันไปหมด พวกเขามีกลยุทธ์และการให้ความสำคัญกับการลงทุนที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นองค์กรธุรกิจควรมีการทำงานร่วมกับนักลงทุนโดยตรง เพื่อที่จะเข้าใจความต้องการ และสิ่งที่นักลงทุนสนใจอย่างแท้จริง รวมถึงในทางกลับกันองค์กรควรมีการบอกเล่าเรื่องราวขององค์กรให้นักลงทุนได้รับทราบด้วย กรอบการรายงาน <IR> และกรอบ SASB จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเพิ่มความแข็งแรง พัฒนา และสร้างความชัดเจนให้กับเรื่องราวการสร้างคุณค่าขององค์กร BASF ควบคุมแผนการดำเนินการ “ESG สู่การสร้างคุณค่า” เพื่อให้ความสำคัญ และเผยแพร่ความคิดริเริ่ม และการดำเนินการด้านความยั่งยืนต่างๆ โดยเ(พาะอย่างยิ่งการปล่อยตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) ครั้งแรกในปี 2020 โดย BASF พบว่าการรายงาน และการพัฒนาสมรรถนะด้านต่างๆ ช่วยเพิ่มการเข้าถึงแหล่งทุนทางการเงินไดมากขึ้นเป็นลำดับ และ BASF ทำให้ตราสารหนี้สีเขียวกลายเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญได้ ทั้งที่โดยปกติจะไม่ค่อยมีตราสารหนี้สีเขียวมนอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ BASF จึงถือว่านี่คือความสำเร็จขององค์กรที่ดเกิดจากการรายงานโดยใช้กรอบ <IR> นักลงทุนต่างๆ จึงพลอยได้ชื่อเสียงจากการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ และการดำเนินการด้าน ESG จนทำให้ตราสารหนี้สีเขียวของ BASF มีความข็งแกร่ง และน่าเชื่อถือ นักลงทุนให้ข้อมูลที่สำคัญเพิ่มเติมว่าความไว้วางใจที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากการเปิดเผยข้อมูลขององค์กร และการที่นักลงทุนสามารถเห็นได้ว่าเงินทุนถูกใช้ไปกับการบริหารจัดการธุรกิจในประเด็นที่เกี่ยวกับความยั่งยืนไหน และอย่างไรบ้าง อีกทั้งการเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐาน SASB ยังส่งผลกระทบต่อด้านนักลงทุนสัมพันธ์ในเชิงบวก เนื่องจากนักลงทุนมีความต้องการที่จะเห็นความสอดคล้อง การเปรียบเทียบได้ และความน่าเชื่อถือของข้อมูลอย่างจริงจัง และเนื่องจากธุรกิจของ BASF จัดเป็นอุตสาหกรรมเฉพาะจึงทำให้ระบบการตรวจวัดเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระทางการเงิน นอกเหนือจากนั้นมาตรฐาน SASB ยังสามารถผสมผสานการตัดสินใจด้าน ESG เข้ากับการตัดสินใจด้านการลงทุน และการดูแลในหลักทรัพย์ และสินทรัพย์ต่างๆ ขององค์กรในด้านอื่นๆ รวมถึงนำเสนอข้อมูลในการเปรียบเทียบ และวิเคราะห์ระบบนิเวศขององค์กรที่สนับสนุนการตัดสินใจในการลงทุนอีกด้วย

การสื่อสารจากภายในสู่ภายนอก

                การเปิดเผยข้อมูลด้วยกรอบ <IR> และมาตรฐาน SASB สามารถสร้างวงจรการสร้างข้อมูลป้อนกลับที่มั่นใจได้ระหว่างองค์กรธุรกิจ และนักลงทุน ความน่าเชื่อถือของวงจรการป้อนข้อมูลย้อนกลับนี้ช่วยในการสื่อสารถึงกระบวนการ และง่ายต่อการพัฒนาในอนาคตตลอดระยะเวลาดำเนินกิจการ และการรายงานถึงกระบวนการด้วยกรอบ <IR> และมาตรฐาน SASB จะสามารถสร้างวงจรการป้อนข้อมูลย้อนกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อองค์กรธุรกิจมีวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนเท่านั้นดังที่แสดงในรูปภาพที่ 2

รูปภาพที่ 2

โดยข้อมูลป้อนกลับทั้งหมดจะมีหน้าตาที่แตกต่างกันไปตามแต่ละองค์กร และจะถูกแสดงผลออกมาผ่านการกำหนดกลยุทธ์องค์กร การปรับเปลี่ยนระบบการบริหาร หรือการพัฒนากระบวนการกำกับดูแลกิจการ วงจรการป้อนข้อมูลย้อนกลับจะช่วยยืนยันว่าทรัพยากร (ทุน) ได้ถูกจัดสรรปันส่วนอย่างมีประสิทธิภาพในการได้มาซึ่งคุณค่าสูงสุด สำหรับทุกแผนการทั้งในระสั้น กลาง และยาว หลายองค์กรธุรกิจได้อธิบายถึงระเบียบวิธีแบบองค์รวมนี้ผ่านการบูรณาการความยั่งยืนหรือ ESG เข้ากับ DNA ขององค์กร ในทำนองเดียวกันประเด็นด้านความยั่งยืนต่างๆ ก็แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของแต่ละอุตสาหกรรม และการบูรณาการ ESG เข้ากับแต่ละหน่วยงานภายในองค์กรก็แตกต่างกันตามแต่ละรูปแบบการดำเนินธุรกิจเช่นกัน ดังนั้นการเปิดเผยข้อมูลด้วยกรอบ <IR> และมาตรฐาน SASB จึงเป็นมากกว่าการใช้เพื่อสื่อสาร แต่เครื่องมือเหล่านี้ยังช่วยในการทำลายกำแพงของการดำเนินการภายในองค์กร สร้างการเชื่อมโยงของการทำงานระหว่างหน่วยงานในองค์กร และยกระดับการตัดสินใจทางธุรกิจอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการคิดเชิงบูรณาการอันจะช่วยให้กรรมการ และคณะผู้บริหารได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการสร้างคุณค่าองค์กรของพวกเขาด้วย และพวกเขาจะมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร และความสัมพันธ์ (ข้อได้เปรียบ) ที่องค์กรพึ่งพาอยู่ ความเสี่ยงที่องค์กรเผชิญอยู่ และผลลัพธ์ทางการเงิน และไม่ใช่การเงินที่องค์กรสร้าง

การเสียสละเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

                การเปิดเผยข้อมูล และความโปร่งใสคือคำตอบ: ธุรกิจที่มีการรายงาน และการตัดสินใจที่ดีนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยองค์กรธุรกิจที่มีการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน และการรายงานเชิงบูรณาการแสดงให้เห็นถึงการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัฎจักรซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ นักลงทุน สังคม และโลกของเราดังแสดงในรูปภาพที่ 3

รูปภาพที่ 3

References:
  1. IFRS, 1. (2022) IFRS Foundation Completes Consolidation with Value Reporting Foundation. [online] Delaware: Integrated Reporting (now part of IFRS Foundation). Available from: https://www.ifrs.org/news-and-events/news/2022/08/ifrs-foundation-completes-consolidation-with-value-reporting-foundation/# [Access 21 June 2023].
  2. SASB Standards (2021) Complementary Tools: Using the <IR> Framework and SASB Standards Together. [online] Delaware: SASB Standards (now part of IFRS Foundation). Available from: https://sasb.org/knowledge-hub/complementary-tools-using-the-framework-and-sasb-standards-together/ [Access 21 June 2023].

ความสำคัญของ ESG ต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ

แนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและการกำกับดูแลกิจการ (ESG)

แนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและการกำกับดูแลกิจการ (ESG) กำลังกลายเป็นใจความสำคัญของตลาดทุนสำหรับการเพิ่มคุณค่าตลาดโดยคำนึงถึงคุณค่าสำหรับคนรุ่นหลังเป็นสำคัญ โดยครอบคลุมหัวข้อเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สิทธิมนุษยชน ลูกค้าสัมพันธ์ ห่วงโซ่อุปทาน หลักปฏิบัติของคณะกรรมการบริหาร ความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลด้านต่างๆ เช่นภาษี หรือ สวัสดิภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นต้น อีกทั้งความสนใจของนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในกิจการที่มีความยั่งยืนก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวบนพื้นฐานแนวคิดที่มองว่าการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ไม่ใช่การทำบุญหรือการทำการกุศลอีกต่อไป หากแต่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน (Courtnell, J., 2022) นิตยสารสัญชาติอังกฤษอย่าง The Fintech Times ระบุว่าการรายงาน ESG เป็นการเปิดเผยข้อมูลและอธิบายถึงผลกระทบและการเพิ่มคุณค่าขององค์กรโดยการสรุปกิจกรรมต่างๆขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมาย ความสำเร็จและผลกระทบเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและนักลงทุนอย่างโปร่งใส โดยข้อมูลระบุอีกว่าอัตราสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับ ESG ในยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 27,000 ล้านยูโร ในปี 2560 เป็น 102,000 ล้านยูโรในปี 2562 แสดงให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจในยุโรปตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารองค์กรด้วยกลยุทธ์ความยั่งยืนและผลกระทบขององค์กรผ่านรายงาน ESG และใช้รายงานเหล่านั้นเป็นเครื่องยืนยันในการเพิ่มทุนเพื่อขยายธุรกิจด้วยความสมัครใจถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อบังคับที่เป็นรูปธรรมก็ตาม (The Fintech Times, 2022) ทว่าตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไปองค์กรต่างๆจะเริ่มถูกบีบให้รายงานความยั่งยืน โดยความเข้มข้นของข้อบังคับขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2566 คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เสนอแผนการจัดทำกฎหมายใหม่ของ EU ที่กำหนดให้องค์กรขนาดใหญ่ทั้งหลายเผยแพร่รายงานการดำเนินงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ช่วยให้นักลงทุน ผู้บริโภค ผู้วางเงื่อนไข และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ได้ประเมินผลประกอบการที่ไม่เกี่ยวกับการเงินพร้อมกับส่งเสริมแนวทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบมากขึ้นเรียกว่า Corporate Sustainability Reporting Directive (CSRD) (Bureau Veritas, 2023) ซึ่งจะมาแทนกฏหมายเก่าอย่าง Non-Financial Reporting Directive (NFRD) ซึ่งมีบริษัทขนาดใหญ่ในยุโรปถึง 50,000 บริษัท ทั้งบริษัทจดทะเบียน (Listed Company) และกิจการที่มีส่วนได้ส่วนเสียสาธารณะ (Public-Interest Entities) ที่ต้องยื่นรายงานความยั่งยืนในรอบปี 2566 นี้ ส่วนในประเทศไทยเองตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เริ่มมีการกำกับดูแลกิจการด้วยการออกระเบียบว่าด้วย “หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2555” เพื่อเป็นหลักในการตรวจสอบการดำเนินกิจการของบริษัทจดทะเบียน ประกอบไปด้วย 4 หมวด ได้แก่ 1) สิทธิของผู้ถือหุ้น 2) การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน 3) บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (SET, 2012) จากนั้นในปี 2559 “Checklist พิชิตธุรกิจยั่งยืน ฉบับ SME” ซึ่งเป็นหนังสือคู่มือที่อธิบายถึงแนวทางการพัฒนาความยั่งยืนสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Antong, P.and Ekachaiphaiboon, S., 2016) และ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ก็ได้ประกาศ “หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560” เพื่อเป็นหลักปฏิบัติสำหรับคณะกรรมการบริษัทในการกำกับดูแลกิจการที่ดีในระยะยาว น่าเชื่อถือและสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน (CG Thailand, 2017) ประกอบด้วย 8 หลักปฏิบัติอาทิ ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำองค์กรที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืนและดูแลให้มีระบบบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสมเป็นต้น และล่าสุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จัดทำ “คู่มือการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืนสำหรับบริษัทจดทะเบียน” ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน ฯลฯ สำหรับผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (Santhayati, N. et al., 2020) อีกทั้งในส่วนของการบริหารความเสี่ยงนั้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้นำ COSO-ERM 2017 ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) ซึ่งเป็นคณะกรรมการของสถาบันวิชาชีพ 5 สถาบัน ในสหรัฐอเมริกา อันได้แก่ 1)สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Institute of Certified Public Accountants หรือ AICPA) 2) สมาคมผู้ตรวจสอบภายใน (The Institute of Internal Auditor หรือ IIA) 3) สมาคมผู้บริหารการเงิน (The Financial Executives Institute หรือ FEI) 4) สมาคมนักบัญชีแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Accounting Association หรือ AAA) 5) สมาคมนักบัญชีเพื่อการบริหาร (Institute of Management Accountants หรือ IMA) (Kamhaengpol, T, 2016) และ WBCSD (World Business Council for Sustainable Development) มาใช้เป็นแนวทางในการบริหารความเสี่ยงในรูปของความเสี่ยง ESG (Chayaviwattanawong, C., 2018) เห็นได้ชัดว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ กลต. ได้มีความพยายามผลักดันด้านความยั่งยืนมาตลอดเวลาเกือบ 10 ปีที่ผ่านมาและหลักเกณฑ์หรือข้อบังคับในการสร้างความยั่งยืนให้กับบริษัทในกำกับก็มีความเข้มข้นขึ้นตามลำดับไม่ต่างจากกระแสจากทั่วโลก

ทำความเข้าใจความสำคัญของการรายงานความยั่งยืน

การทำความเข้าใจความสำคัญของการรายงานความยั่งยืนนั้นควรเริ่มจากการปรับแนวความคิดเสียใหม่ว่าการทำ ESG นั้นไม่ใช่ภาระแต่เป็นมาตรการเพื่อแสดงความโปร่งใส และความโปร่งใสนี้เองจะนำมาซึ่งเงินทุนและการสร้างสรรค์วิธีการสำหรับต่อกรกับความท้าทายระดับโลกที่เกี่ยวเนื่องกับ “เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)” ของสหประชาชาติอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเท่าเทียม หรือความมั่นคงในชีวิตเป็นต้น ความโปร่งใสยังเป็นกุญแจสำคัญที่ก่อให้เกิดความร่วมมือกับบุคคลภายนอกและการพัฒนาที่ทำได้จริงเนื่องจากสามารถตรวจสอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนหรือผู้ให้กู้มีแนวโน้มว่าจะใช้ความโปร่งใสที่รายงานด้วยแนวคิด ESG ในการประเมินความเสี่ยง และความเป็นไปได้เกี่ยวกับกิจกรรมทางการเงินในอนาคต นอกจากนั้นผู้บริโภคเองก็ต้องการสินค้าและ/หรือบริการจากแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมเช่นกัน (Courtnell, J., 2022) ข้อมูลจาก The First Insight (2023) แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้บริโภคโดยเฉพาะ Gen Z (เกิดช่วงปี 2538-2552) มีความต้องการสนับสนุนธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนอย่างจริงจังโดยมีอัตราการซื้อสินค้าและ/หรือบริการถึง 62% และพวกเขาพร้อมที่จะจ่ายเพิ่มอีก 10% สำหรับสินค้าและ/หรือบริการที่ยั่งยืนจากการจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและ/หรือบริการทั่วไป นอกเหนือจากนั้น 79% ของพนักงานกลุ่ม Millennial (เกิดช่วงปี 2524-2538) มีการประเมินถึงแนวทางการดำเนินการด้านความยั่งยืนของผู้ว่าจ้างก่อนตัดสินใจร่วมงานด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่าการส่งเสริมนโยบายด้าน ESG สามารถดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถมาทำงานได้ดีกว่า (Cone, C., 2022)  ในขณะที่ MSCI (2021) ให้ข้อมูลว่าการลงทุนในธุรกิจที่แสดงออกถึงความยั่งยืนนั้นไม่ได้ถูกจำกัดแค่ในกลุ่ม Gen Z หรือ Millennial เท่านั้นแต่ยังกำลังขยายไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมหลักอาทิ นักลงทุนสถาบันและบริษัทจดทะเบียนอีกด้วย ส่วนในมุมของการวางแผนประยุกต์ใช้กลยุทธ์ด้าน ESG องค์กรต่างๆจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคมและการกำกับดูแลกิจการ (ESG Risk)ให้ชัดเจน จากนั้นจึงวัดผลตามหลักฐานการดำเนินการที่เกิดขึ้นจริงอย่างโปร่งใสเป็นรายปี ยิ่งไปกว่านั้นองค์กรต่างๆควรกำหนดกิจกรรมที่สร้างสรรค์และทำได้จริงเพื่อสนันสนุนการบรรลุเป้าหมาย ESG ขององค์กรเหล่านั้น (Courtnell, J., 2022) Korn Ferry ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาองค์กรในระดับสากลได้ให้ความหมาย ESG ว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงมากกว่าจะมาบ่ายเบี่ยง โดยที่องค์กรต้องระบุเป้าหมายให้ชัดเจนจากนั้นต้องพัฒนาทักษะ ความสามารถ ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมไปในแนวทางเดียวกับเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ ในส่วนการกำหนดเป้าหมายนั้นองค์กรควรเริ่มจากกำหนดนโยบายจากคณะกรรมการบริหาร (Tone of the top) โดยการให้คำมั่นสัญญาต่อเป้าหมายและปฏิบัติเป็นประจำเพื่อแสดงความเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างที่ดีให้บุคลากรในองค์กร หลังจากที่ผู้นำแสดงถึงทิศทางความเปลี่ยนแปลงแล้วนั่นถึงจะเป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายวัตถุประสงค์และเป้าหมายสู่วัฒนธรรมทั่วทั้งองค์กรและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ลงมือทำและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างถาวร ชุดเป้าหมายต่างๆควรเป็นที่ยอมรับและมีการวัดผลการดำเนินการทั้งในแง่กลยุทธ์และการปฏิบัติเป็นประจำไม่ว่าจะด้วยการวัดผลเชิงปริมาณหรือคุณภาพ (Korn Ferry, 2023) และลึกไปกว่านั้นแต่ละองค์กรควรเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ESG ทั้งจากทุกหน่วยงานในองค์กรและผู้มีส่วนไดส่วนเสียเพื่อนำมาประเมินว่าแง่มุมใดเหมาะสมกับองค์กรนั้นๆมากที่สุดเรียกว่า “กระบวนการประเมินประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจ” ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีและซอฟท์แวร์ต่างๆสามารถช่วยให้การเก็บข้อมูลมากมมายเป็นไปอย่างง่ายดายและสามารถเชื่อมโยงกับข้อกำหนดต่างๆได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นเลือกกรอบการรายงานที่ต้องการใช้และแสดงความน่าเชื่อถือของข้อมูลและความโปร่งใสในการได้มาซึ่งข้อมูลอย่างชัดเจนและสุดท้ายสื่อสารให้ทั้งผู้ถือหุ้นและสาธารณะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างรายงาน ESG กับกลยุทธ์ธุรกิจ (The Fintech Times, 2022)

ประเด็นเรื่องความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

จากหลักฐานที่กล่าวมาแสดงถึงความพยายามผลักดันแนวคิดด้านความยั่งยืนของภาคทุนทั่วโลก เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเริ่มแรกอาจดูเหมือนไม่มีทิศทางที่ชัดเจนเนื่องจากกรอบความยั่งยืนที่ทั้งกว้างและลึก อีกทั้งยังเป็นแนวความคิดที่ตรงข้ามกับแนวคิดอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตมนุษย์ ประเด็นเหล่านี้ได้รับการพัฒนาอย่างจริงจังในหลากหลายแง่มุมทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์และสังคมมากว่า 20 ปี ตั้งแต่มีการประชุม “พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)” ในปี 2540 จนถึงการประชุม “การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC (COP)” ในปี 2565 การพัฒนาเหล่านั้น นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการดำเนินชีวิตทั่วโลกในหลากหลายแง่มุมโดนเฉพาะในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น ESG จะเป็นส่วนสำคัญในการกำกับดูแลกิจกรรมในการการดำเนินกิจการทั้งภาครัฐและเอกชนถึงแม้ว่าในปัจจุบันการเสนอรายงาน ESG จะยังอยู่ในรูปแบบสมัครใจก็ตาม แต่ในอนาคตอันใกล้การเสนอรายงาน ESG ภาคบังคับจะถูกนำมาบังคับใช้อย่างแน่นอนดังนั้นองค์กรต่างๆ ควรเริ่มทำความคุ้นเคยกับเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการนำ ESG มาใช้ในองค์กร มีการคาดการณ์จาก Deloitte Center for Financial Services (DCFS) ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารการลงทุนกว่าครึ่งในสหรัฐอเมริกาจะมีการผลักดันข้อบังคับ ESG ในสินทรัพย์ถาวรอย่างจริงจังก่อนปี 2568 เนื่องจากแรงกดดันจากผู้บริโภค และเนื่องจากเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพและภาพของการออกข้อบังคับชัดเจนมากขึ้นส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าจะมีปัจจัย ESG มากขึ้นในกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนของนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและการค้าปลีก อีกทั้งยังมีการประเมินว่าอัตราการเติบโตแบบทบต้น (CARG) จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ 16% ในปี 2568 (Collins, Sean, 2020) อย่างไรก็ตามกฏหมายและข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวกับการรายงาน ESG มีแนวโน้มที่จะถูกปรับให้เหมาะสมกับกฎหมายอื่นๆที่มีอยู่เดิมและอัตราส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละประเทศมากกว่าการใช้ตัวชี้วัดอื่นๆที่จับต้องไม่ได้ อย่างเช่น การรับรู้ทางสังคมหรือความเป็นอยู่ที่ดีเป็นต้น ดังนั้นการลงทุนกับพนักงานและทรัพยากรในการติดตามกระแสการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่จำเป็น ข้อเสนอแนะ กรอบการรายงาน ของแต่ละประเทศที่องค์กรนั้นๆดำเนินกิจการอยู่และดำเนินกิจการด้วยอย่างใกล้ชิดเนื่องในบางองค์กรต้องการระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปัจจัยความซับซ้อน งบประมาณ และกระบวนการที่อาจผิดพลาด (Abigali Y., 2022)


International References:

  1. Abigali Yu (2022) The Global State of Mandatory ESG Disclosures. [online] London: Azeus Convene. Available from: https://www.azeusconvene.com/esg/articles/the-global-state-of-mandatory-esg-disclosures [Access 10 May 2023].
  2. Collin, Sean (2020) Advancing Environmental, Social, and Governance Investing: A Holistic Approach for Investment Management Firm. [online] Washington, DC: Deloitte Insights. Available from: https://www2.deloitte.com/us/en/insights/industry/financial-services/esg-investing-performance.html [Access 9 May 203].
  3. Cone, Coral (2022) Engaging Employees at the Intersection of Purpose and Philanthropy. [online] Massachusetts: 3BL CSR Wire. Available from: https://www.csrwire.com/press_releases/760906-engaging-employees-intersection-purpose-and-philanthropy [Access 9 May 2023].
  4. Courtnell, Jane (2022) ESG Reporting Preparation Guide: What is ESG Reporting? [online] Texas: Green Business Bureau. Available from: https://greenbusinessbureau.com/business-function/finance-accounting/esg-reporting-what-is-esg-reporting/ [Access 9 May 2023].
  5. Korn Ferry (2023) Critical ESG & Sustainability Question: Purpose. [online] New York: Korn Ferry. Available from: https://www.kornferry.com/capabilities/business-transformation/esg-and-sustainability?utm_source=google&utm_medium=ppc&utm_campaign=21-09-na-environmental-social-governance&utm_content=esg-and-sustainability&utm_term=esg%20framework&gad=1&gclid=Cj0KCQjwu-KiBhCsARIsAPztUF3E7BZ1VJujXHwc8Fcgo07oA9hMHDW9J5HB4dblQtaLDxkaU-Y82IUaAtHeEALw_wcB [Accessed on 3 May 2023].
  6. The Fintech Times (2022) Planetly: What is ESG Reporting and Why is it Vital for Business. [online] London: The Fintech Times. Available from: https://thefintechtimes.com/planetly-what-is-esg-reporting-and-why-is-it-vital-for-businesses/ [Accessed 9 May 2023].
  7. The First Insight (2023) The Stage of Consumer Spending: Gen Z Shoppers Demand Sustainable Retail. [online] Pennsylvania: The First Insight. Available from: https://www.firstinsight.com/white-papers-posts/gen-z-shoppers-demand-sustainability [Access 9 May 2023].
  8. MSCI: Morgan Stanley Capital International (2021) The Truth Behind 5 ESG Myths. [online] New York: MSCI Available from: https://www.msci.com/research-and-insights/visualizing-investment-data/fact-check-truth-behind-esg-myths [Access 9 May 2023].

Thai References:

ภาพรวมการรายงาน ESG

การรายงาน ESG ที่เกี่ยวกับประเด็นความยั่งยืนอย่างสิ่งแวดล้อม สังคมและการกำกับดูแลกิจการอย่างมีมาตรฐานนั้นเป็นตัวกำหนดความสำเร็จขององค์กรในระยะยาวเนื่องจากการรายงาน ESG เผยให้เห็นข้อมูลที่สามารถประเมินได้ว่าองค์กรต่างๆบริหารจัดการประเด็นของผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และการกำกับดูแลกิจการในการทำงานประจำวันได้ดีเพียงใด ในรายงาน ESG เป็นการบอกถึงกลยุทธ์และการปฏิบัติอันก่อให้เกิดคุณค่าที่จับต้องได้และเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การรายงาน ESG จึงเป็นหลักฐานสำคัญในการอ้างอิงถึงประเด็นความยั่งยืนที่เกิดขึ้นในองค์กรต่างๆ (Emerick, D., No Clue) ในปัจจุบันทีมงานบริหารในบริษัทจดทะเบียนและกิจการที่มีส่วนได้ส่วนเสียสาธารณะถูกเรียกร้องจากตลาดหลักทรัพย์และหน่วยงานของรัฐ ให้เปิดเผยข้อมูลและนำเสนอรายงาน ESG มากขึ้นทั้งราย 6 เดือนและรายปี นอกจากนั้นรายงาน ESG ยังเป็นเครื่องมือในการสื่อสารองค์กรที่สำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีข้อกังขาในการดำเนินงานขององค์กร อาทิ นักลงทุน เจ้าหนี้ พนักงาน ผู้บริโภค เป็นต้น ด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงาน ความเสี่ยงและโอกาสต่างๆ ด้วยความโปร่งใส แต่ในทางกลับกันการใช้กลยุทธ์หรือการดำเนินการที่ผิดวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนหรือไม่เป็นความจริงจะถูกตัดสินว่าเป็น “การฟอกเขียว (Greenwashing)” (Peterdy, K., 2023) และการฟอกเขียวนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากที่องค์กรดำเนินการผิดพลาด ไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม การก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการว่ามีความยั่งยืนทั้งที่ไม่เป็นความจริงหรือไม่มีการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง หรือแม้แต่ขอบเขตการปฏิบัติการที่กว้างมากเกินไป อย่างไรก็ตามการฟอกเขียวนั้นเกิดขึ้นได้จากทั้งความตั้งใจเช่นการทำเพื่อการตลาด และความไม่ตั้งใจเช่นการขาดความรู้ความเข้าใจเป็นต้น (Peterdy, K., 2022) ในส่วนของการให้คะแนน ESG มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินและตรวจสอบการที่องค์กรนำเงินทุนและหลักทรัพย์มาใช้ในประเด็นต่างๆภายใต้กรอบ ESG การให้คะแนน ESG สามารถทำได้ทั้งแบบ อุตสาหกรรมเฉพาะทาง (industry-specific) และ อุตสาหกรรมไม่เฉพาะทาง (industry-agnostic) โดยการให้คะแนนในอุตสาหกรรมเฉพาะทางจะมุ่งเน้นที่ตัววัสดุ บริบทแวดล้อมเกี่ยวกับวัสดุและกระบวนการได้มาซึ่งวัสดุเป็นหลัก ในขณะที่อุตสาหกรรมไม่เฉพาะทางจะดูเฉพาะปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทั้งอุตสาหกรรมในภาพรวมเช่นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิทธิมนุษยชน หรือความเท่าเทียมและการอยู่ร่วมกัน (DEI) (Miller, N. 2022) และ Courtnell, J. (2022) จาก Green Business Bureau (GBB) อธิบายถึงการรายงาน ESG ไว้ 2 รูปแบบคือ 1) กรอบการรายงาน ESG (ESG Framework) และ 2) มาตรฐานการรายงาน ESG (ESG Standard) โดย กรอบการรายงาน จะเป็นกรอบที่กว้างเพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับ ESG ดังนั้นกรอบการรายงาน ESG ถูกใช้เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนรายงานแต่จะไม่ได้นำเสนอวิธีการสำหรับการเขียนรายงาน การเก็บและการรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง กรอบการรายงานจะถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อใช้ควบคู่กับมาตรฐานการรายงานหรือเมื่อไม่มีมาตรฐานการรายงานที่ดีพอ ในอีกทางหนึ่ง มาตรฐานการรายงาน จะมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่าโดยมีการอธิบายถึงรายละเอียดของข้อกำหนดต่างๆที่ต้องเขียนในรายงาน นั่นหมายความว่ามาตรฐานการรายงานถูกใช้เป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการเขียนรายงานอย่างเช่นเรื่องที่จะรายงานและขอบเขตพื้นที่สำหรับการรายงานเป็นต้น มาตรฐานการรายงานช่วยให้กรอบการรายงานเป็นรูปธรรมมากขึ้นโดยการที่เป็นเครื่องยืนยันสำหรับการเปรียบเทียบ ความสอคล้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลต่างๆที่ถูกเขียนในรายงาน ในขณะที่ Byrne, D. (2023) จาก Corporate Governance Institute (CGI) กล่าวว่ากรอบการรายงาน ESG เป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักปฏิบัติและให้ความสำคัญกับการตั้งคำถามในภาพรวมเช่นโครงสร้างของข้อมูลถูกสร้างมาอย่างไรหรือข้อมูลอะไรบ้างที่ถูกรวบรวมไว้ในรายงานเป็นต้น ส่วนมาตรฐานการรายงาน ESG นั้นเกี่ยวกับการใช้วิธีการหรือเทคนิคมากกว่าโดยการตัวมาตรฐานจะกำหนดความต้องการที่เฉพาะเจาะจงอย่างเช่นตัวชี้วัดแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับการรายงานในแต่ละเรื่อง และกรอบการรายงานและมาตรฐานการรายงานควรถูกใช้ร่วมกันเพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือของรายงาน Letta, A. T. (2022) จาก esg.tech เพิ่มเติมว่ากรอบการรายงานนำเสนอภาพรวมของโครงสร้างและหัวข้อที่ต้องการนำเสนอ ส่วนมาตรฐานการรายงานนำเสนอในส่วนของโครงสร้างของรายงานโดยรวมตัวชี้วัดที่เฉพาะเจาะจงและรายละเอียดของแต่ละข้อกำหนดหรือเกณฑ์การประเมิน และกรอบการรายงานถูกใช้ในบางกรณีที่ไม่มีมาตรฐานที่ดีในการประเมินและ/หรือหัวข้อมีความยืดหยุ่นที่สามารถอธิบายได้โดยไม่ต้องใช้การประเมินแบบเฉพาะเจาะจง ลึกลงไปกว่านั้น Courtnell, J. (2022) ได้แบ่งกรอบการรายงาน ESG ออกเป็น 3 รูปแบบคือ 1) กรอบการรายงานแบบสมัครใจ (Voluntary Disclosure Framework) 2) กรอบการรายงานแบบให้คำแนะนำ (Guidance Framework) 3) กรอบการรายงานแบบใช้ข้อมูลจากบุคคลที่สาม (Third-Party Aggregators) ภายใต้กรอบการรายงานแบบสมัครใจองค์กรเปิดเผยข้อมูลด้านนโยบาย วิธีปฏิบัติ การบรรลุผลสำเร็จและข้อมูลอื่นๆที่ส่งผลต่อความยั่งยืนตาม 25 รายการของGBB โดยกรอบการรายงานแบบสมัครใจที่นิยมใช้กันในระดับสากลมีดังนี้ 1) Carbon Disclosure Project (CDP) 2) Global Real Estate Industry Benchmark (GRESB) 3) Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ส่วนกรอบการรายงานแบบให้คำแนะนำที่เป็นการเสนอแนะหลักการเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถบ่งชี้ บริหารจัดการและรายงานเกี่ยวกับผลสำเร็จด้าน ESG ขององค์กร กรอบการรายงานแบบให้คำแนะนำที่นิยมประกอบด้วย 1) Sustainability Accounting Standards Board (SASB) 2) Global Reporting Initiative (GRI) 3) Task Force on Climate-Related Financial Disclosure (TCFD) 4) Carbon Disclosure Standard Board (CDSB) 5) International Integrated Reporting Council (IIRC) และสุดท้ายกรอบการรายงานแบบใช้ข้อมูลจากบุคคลที่สามที่ใช้สำหรับประเมินประสิทธิภาพการดำเนินการขององค์กรจากข้อมูลที่ปรากฏในสื่อสาธารณะและผู้รวบรวมข้อมูลภายนอกแหล่งต่างๆ อาทิเอกสารที่เปิดเผยข้อมูลขององค์กร (company-sourced filings) เอกสารตีพิมพ์ต่างๆ เวบไซต์ รายงานประจำปี และ/หรือรายงานด้ารความยั่งยืนหรือความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) กรอบการรายงานแบบใช้ข้อมูลจากบุคคลที่สามที่ได้รับความนิยมคือ 1) Bloomberg Terminal ESG Analysis 2) Institutional Shareholder Service (ISS E&S) Quality Score (ISS) 3) Morgan Stanley Capital International (MSCI) 4) Sustainalytic. ในส่วนของมาตรฐานการรายงาน ESG นั้นปรากฏอยู่ 2 มาตรฐานคือ 1) European Financial Reporting Advisory Group (EFRAG) and 2) International Sustainability Standard Board (ISSB) ในขณะที่ Byrne, D. (2023) กล่าวถึงกรอบการรายงานเพียง 4 แบบซึ่งทั้ง 4 แบบอยู่ภายใต้กรอบการรายงานแบบให้คำแนะนำตามที่ Courtnell, J. (2022) ได้กล่าวอ้างคือ 1) Task Force on Climate-Related Financial Disclosure (TCFD) 2) International Integrated Reporting Council (IIRC) 3) Global Reporting Initiative (GRI) 4) Carbon Disclosure Standard Board (CDSB) และมาตรฐานการรายงาน ESG 3 แบบคือ 1) European Financial Reporting Advisory Group (EFRAG) 2) International Sustainability Standard Board (ISSB) and 3) The sustainability Accounting Standard Board (SASB) ซึ่ง Courtnell, J. (2022) ระบุว่า SASB เป็นกรอบการรายงานแบบให้คำแนะนำ อีกด้านหนึ่ง Letta, A. T. (2022) ได้กล่าวถึงตัวอย่างของกรอบการรายงานเพียงแค่ 1) Task Force on Climate-Related Financial Disclosure (TCFD) และ 2 มาตรฐานการรายงานคือ 1) Global Reporting Initiative (GRI) ที่ Courtnell, J. and Byrne, D. ระบุว่าเป็นกรอบการรายงานแบบให้คำแนะนำ และ 2) Sustainability Accounting Standards Board (SASB) ที่ Courtnell, J. ระบุว่าเป็นกรอบการรายงานแบบให้คำแนะนำแต่ Byrne, D. ระบุว่าเป็นมาตรฐานการรายงานเช่นเดียวกับ Letta, A. T.

                ในประเทศไทยเองก็ยังอยู่ในจุดเริ่มต้นของกระแส ESG เช่นกัน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้เผยแพร่แนวทางการรายงานความยั่งยืนและการประเมินในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมสำหรับบริษัทจดทะเบียนในปี 2565 โดยแนวทางสำหรับการรายงานความยั่งยืนอยู่ในหลักปฏิบัติแบบ 56-1 One Report ซึ่งสามารถถูกใช้เป็นรายการตรวจสอบที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนและการลงทุน (SET, 2022) อภิศักดิ์ เกี่ยวการค้า รองผู้จัดการและหัวหน้าสายงานการเงินและบริหารเงินลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกล่าวว่าตลาดหลักทรัพย์พัฒนากรอบ SET-ESG โดยมุ่งเน้นการบรรลุ 4 เป้าหมายตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) คือ 1) อุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน (SDG-9) 2) การผลิตและการบริโภคอย่างรับผิดชอบ (SDG-12) 3) ลดความเหลื่อมล้ำ (SDG-10) 4) แนวทางปฏิบัติต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG-13) (Kiewkarnka, A., 2022) ขณะที่รัตน์วลี อนันตานานนท์ (Anantananon, R., 2022) ผู้ช่วยผู้จัดการและหัวหน้ากลุ่มงานธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเสริมว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำลังพัฒนา 2 แพลทฟอร์มคือ 1) SET ESG Data Platform สำหรับสื่อสารเกี่ยวกับข้อบังคับในการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับ ESG และ 2) SET ESG Academy เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้เกี่ยวกับ ESG ของบริษัทและมหาวิทยาลัยต่างๆ ส่วนพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับตลาดหลักทรัพย์อย่างสถาบันการเงินในประเทศไทยก็ได้ประดาศเจตนารมณ์เกี่ยวกับ ESG ในปี 2565 เช่นกันเพื่อกำหนดทิศทางเกี่ยวกับการระบุวาระ ESG ให้ชัดเจนสำหรับอุตสาหกรรมการเงิน สมาคมธนาคารไทย (TBA) ได้วางแผนสำหรับการดำเนินการที่สำคัญในการระบุความเสี่ยงและโอกาสภายใต้กรอบ ESG โดยเน้นที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG-13) ความหลากหลายและสิทธิมนุษยชน (SDG-5) การบูรณาการด้านการเงิน (SDG-8) และลดความเหลื่อมล้ำ (SDG-5) พร้อมให้การสนับสนุนประเทศในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) สมาชิกทั้งหมดของสมาคมธนาคารไทยมีมติเป็นเอกฉันท์ต่อการดำเนินการสำคัญ 6 รูปแบบคือ 1) การกำกับดูแลกิจการ 2) กลยุทธ์ 3) การบริหารความเสี่ยง ESG 4) ผลิตภัณ์ทางการเงิน 5) การสื่อสาร 6) การเปิดเผยข้อมูล (BOT & TBA, 2022) รศ.ดร. ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีด้านความยั่งยืน วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่าภาคธุรกิจในประเทศไทยยังอยู่ในขั้นการเรียนรู้ที่จะเข้าใจความจำเป็นของการผสมผสานปัจจัยด้าน ESG ต่างๆ เข้ากับการดำเนินกิจการ อุปสรรคใหญ่ในการนำ ESG เข้ามาใช้ในองค์กรคือการขาดความเข้าใจที่สอดคล้องตรงกันเกี่ยวกับการรายงานและการประเมิน ESG ขาดกำลังคนและเทคโนโลยีที่เพียงพอในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล และขาดความโปร่งใสในระบบการจัดการ (Pimpa, N., 2023) เห็นได้ชัดว่าในภาพรวมของการรายงาน ESG ยังมีความสับสนและความไม่สมบูรณ์อยู่มากในแง่ของความรู้เกี่ยวกับการใช้กรอบและมาตรฐานการรายงานทั้งในระดับสากลและภายในประเทศ อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาจากหลักฐานที่จับต้องได้ในปัจจุบันได้เผยให้เห็นกระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่เกิดจากภาคทุนทั่วโลกในการบรรลุความยั่งยืน ดังนั้นองค์กรต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนควรเริ่มปรับแนวคิดในการดำเนินกิจการและเฝ้าสังเกตสิ่งที่เกี่ยวกับ ESG จากหลากภาคส่วนเพื่อนำมาสร้างกลยุทธ์ แผนการดำเนินการ รวมถึงความชัดเจนและสอดคล้องของกรอบการรายงานที่เหมาะสมสำหรับองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรนั้นๆ ซึ่งแต่ละองค์กรจากภูมิหลังและอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันก็มีความต้องการทรัพยากรที่จำเป็นและความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และในบางองค์กรก็ต้องใช้ระยะเวลาและต้นทุนมากกว่าในการบรรลุเป้าหมาย (Pimpa, N., 2023) แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำจาก 6 ประเทศอาเซียน (สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์) ในแง่ของการดำเนินการด้าน ESG การจัดอันดับศักยภาพในการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในปี 2562 โดย Corporate Knights ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยได้เผยให้เห็นว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้อันดับที่ 9 จาก 47 ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกซึ่งเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตามมาด้วยตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์อันดับที่ 24 ตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์อันดับที่ 30 และตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียอันดับที่ 36 ส่วนประเทศที่มีค่าการละเลยความเสี่ยง ESG สูงได้แก่เวียดนามและอินโดนีเซียสืบเนื่องจากเป็นประเทศที่มีความเสี่ยง ESG สูงแต่ไม่สามารถจัดการได้เช่นอุตสาหกรรมเหมือง น้ำมันและก๊าซหรือเหล็กเป็นต้น (Pan, F., 2021) and (Walker, R., 2021).

Source from: Sustainalytics https://www.sustainalytics.com/esg-research/resource/investors-esg-blog/esg-disclosure-and-performance-in-southeast-asia  

International References:

  1. Byrne, Dan (2023) What’s the difference between ESG reporting standards and frameworks. [online] London: Corporate Governance Institute (CGI). Available from: https://www.thecorporategovernanceinstitute.com/insights/guides/whats-the-difference-between-esg-reporting-standards-and-frameworks/ [Access 12 May 2023].
  2. Courtnell, Jane (2022) ESG Reporting Frameworks, Standards, and Requirements. [online] Texas: Green Business Bureau. Available from: https://greenbusinessbureau.com/esg/esg-reporting-esg-frameworks/ [Access 9 May 2023].
  3. Emerick, Dean (No clue) What is ESG Reporting? [online] Ontario: ESG/ The Report. Available from: https://www.esgthereport.com/what-is-esg-reporting/ [Access 12 May 2023].
  4. Letta Anamim Tesfaye (2022) What is the difference between ESG framworks and standards? [online] Paris: esg.tech. Available from: https://esg.tech/how-to/esg-frameworks-and-standards/ [Access 12 May 2023].
  5. Miller, Noah (2022) ESG Score. [online] Vancouver: Corporate Finance Institute (CFI). Available from: https://corporatefinanceinstitute.com/resources/esg/esg-score/ [Access 12 May 2023].
  6. Pan, Frank (2021) ESG Disclosure and Performance in Southeast Asia. [online] London: Sustainalytics. Available from: https://www.sustainalytics.com/esg-research/resource/investors-esg-blog/esg-disclosure-and-performance-in-southeast-asia [Access 13 May 2023].
  7. Peterdy, Kyle (2022) Greenwashing. [online] Vancouver: Corporate Finance Institute (CFI). Available from: https://corporatefinanceinstitute.com/resources/esg/greenwashing/ [Access 12 May 2023].
  8. Peterdy, Kyle (2023) ESG Disclosure. [online] Vancouver: Corporate Finance Institute (CFI). Available from: https://corporatefinanceinstitute.com/resources/esg/esg-disclosure/ [Access 12 May 2023].
  9. Walker, Rupert (2021) Thailand leads ESG disclosure in Southeast Asia. [online] London: MA Financial Media. Available from: https://fundselectorasia.com/thailand-leads-esg-disclosure-in-southeast-asia/ [Access 13 May 2023].

Thai References:

  1. Anantananon, Ratwalee (2022) Set launches platforms to promote ESG Practices. [online] Bangkok: Bangkok Post. Available from: https://www.bangkokpost.com/business/2303434/set-launches-platforms-to-promote-esg-practices [Access 13 May 2023].
  2. Bank of Thailand (BOT) and The Thai Bankers’ Association (TBA) (2022) Joint Press Release: TBA launches ESG Declaration, a strong collective commitment to expediting sustainable development toward better and greener economy. [online] Bank of Thailand (BOT). Available from: https://www.bot.or.th/landscape/en/news/2022/08/29/esg-declaration/ [Access 13 May 2023].
  3. Kiewkarnka, Apisak (2022) Set launches platforms to promote ESG Practices. [online] Bangkok: Bangkok Post. Available from: https://www.bangkokpost.com/business/2303434/set-launches-platforms-to-promote-esg-practices [Access 13 May 2023].
  4. Pimpa, Nattavud (2023) ESG: Poison or Panacea for Thai Business? [online] Bangkok: The Nation (Thailand). Available from: https://www.nationthailand.com/blogs/special-edition/esg/40026137 [Access 13 May 2023].
  5. SET (2022) ESG The Stock Exchange of Thailand (SET) introduces Sustainability Reporting Guide. [online] Bangkok: Thailand Business News. Available from: https://www.thailand-business-news.com/set/89984-the-stock-exchange-of-thailand-set-introduces-sustainability-reporting-guide [Access 13 May 2023].

กรอบการรายงาน ESG แบบแนะนำที่นิยม: Taskforce on Climate Change-Related Financial Disclosure (TCFD)

คณะทำงานเพื่อพัฒนากรอบการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD) ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มบุคคลสากลที่ต้องการสร้างเกราะป้องกันที่แข็งแรงและเป็นระบบให้กับการเงินโลก จากความเสี่ยงอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเรียกว่า “คณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน (FSB)” ตั้งอยู่ที่เมือง Basel ประเทศ Switzerland โครงสร้างของ FSB คือการวางกรอบสำหรับบ่งชี้ความเสี่ยงอย่างเป็นระบบเพื่อวางนโยบายและการดำเนินการตามนโยบายสำหรับภาคการเงินในระดับสากล FSB ประกอบด้วยสมาชิกที่ยอมรับกรอบ TCFD 24 ชาติ คือ 1) อาร์เจนตินา 2) ออสเตรเลีย 3) บราซิล 4) แคนนาดา 5) จีน 6) ฝรั่งเศส 7) เยอรมัน 8) ฮ่องกง 9) อินเดีย 10) อินโดนีเซีย 11) อิตาลี 12) ญี่ปุ่น 13) เกาหลีใต้ 14) เม็กซิโก 15) เนเธอร์แลนด์ 16) รัสเซีย* (ปัจจุบันไม่เข้าร่วมประชุม FSB) 17) ซาอุดิอาราเบีย 18) สิงคโปร์ 19) แอฟริกาใต้ 20) สเปน 21) สวิตเซอร์แลนด์ 22) ตุรกี 23) สหราชอาณาจักร 24) สหรัฐอเมริกา และองค์กรสากล 13 องค์กรคือ 1) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 2) ธนาคารโลก 3) ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (BIS) 4) องค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศษฐกิจ (OECD) 5) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) 6) ECB Banking Supervision (SSM) 7) คณะกรรมาธิการยุโรป 8) คณะกรรมการกำกับดูแลสถาบันการเงินภาคธนาคารสากล (BCBS) 9) หน่วยงานกำกับธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (IAIS) 10) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (IOSCO) 11) คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IASB) 12) คณะกรรมการนโยบายการเงินระหว่างประเทศ (CGFS) 13) คณะกรรมการระบบการชำระเงิน (CPMI) (FSB, 2023) FSB สร้าง TCFD ขึ้นเพื่อแนะนำการพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นในสองด้าน คือ 1) เพื่อส่งเสริมการรายงานด้านการลงทุน สินเชื่อและการรับประกันเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการซื้อขายหลักทัพย์ต่างๆ 2) ช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความเข้าใจถึงการให้ความสนใจและดำเนินการด้านการเงินในสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับคาร์บอนไดออกไซน์และการประเมินความเสี่ยงด้านการเงินด้วยการระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ TCFD ระบุเกี่ยวกับความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพอากาศไว้หลายหมวดหมู่ โดยรวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทางการเงิน ที่ช่วยให้นักลงทุนและองค์กรต่างๆ พิจารณากลยุทธ์ระยะยาวที่มีประสิทธิภาพที่สุด ภายใต้มุมมองของ “ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทางการเงินต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” TCFD แนะนำการเปิดเผยข้อมูลใน 4 ประเด็นสำคัญ 1) การกำกับดูแลกิจการ: เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวกับความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ  2) กลยุทธ์: เปิดเผยข้อมูลผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงและอาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศในส่วนของการดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์และแผนการเงิน 3) การบริหารความเสี่ยง: เปิดเผยข้อมูลและวิธีการระบุ ประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศอย่างไร 4) ระบบการตรวจวัดและเป้าหมาย: เปิดเผยวิธีการและ/หรือเครื่องมือในการตรวจวัดและบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD, 2022) สิ่งสำคัญในการจัดเตรียมข้อมูลที่จะเปิดเผยสาสาธารณะคือ “ปัจจัยสำคัญสำหรับประสิทธิภาพการเปิดเผยข้อมูล” อันเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความเข้าใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีต่อองค์กร TCFD แนะนำปัจจัยสำคัญอันดับที่ 1 สำหรับประสิทธิภาพการเปิดเผยข้อมูลไว้ 7 ข้อ 1) การเปิดเผยข้อมูลควรแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน 2) การเปิดเผยข้อมูลควรมีความเฉพาะเจาะจงและเสร็จสมบูรณ์ 3) การเปิดเผยข้อมูลควรชัดเจน เป็นกลางและเข้าใจง่าย 4) การเปิดเผยข้อมูลควรสอดคล้องและครอบคลุมช่วงเวลาหนึ่ง 5) การเปิดเผยข้อมูลควรใช้ข้อมูลที่สามารถเปรียบเทียบได้กับองค์กรอื่นในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมหรือหรือกลุ่มหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร 6) การเปิดเผยข้อมูลควรเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้และเป็นรูปธรรม 7) การเปิดเผยข้อมูลควรเหมาะสมกับมาตรฐานเวลา ปัจจัยสำคัญที่ 2 สำหรับการเปิดเผยข้อมูลคือ “ประเภทการตรวจวัดข้ามอุตสาหกรรม” กล่าวคือการใช้ระบบการตรวจวัดอื่นจากนอกขอบเขตอุตสาหกรรมที่ทำอยู่มาใช้ตรวจประเมินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการหลัก ยกตัวอย่างเช่น บริษัทสิ่งพิมพ์ที่คุ้นเคยกับระบบการพิมพ์อาจนำเอาระบบการประเมินอาคารเขียวเข้ามาใช้เพื่อประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนอกเหนือจากการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการพิมพ์ เป็นต้น หากแต่ TCFD ไม่ได้กำหนดประเภทระบบการตรวจวัดข้ามอุตสาหกรรมที่ชัดเจนเนื่องจากต้องการให้องค์กร ภาคอุตสาหกรรม ผู้กำหนดมาตรฐาน ผู้กำหนดกฏหมาย ฯลฯ สามารถพัฒนาระบบการตรวจวัดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เฉพาะเจาะจงและสอดคล้องกับความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศของสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ได้  ปัจจัยสำคัญที่ 3 คือระบบการตรวจวัดของภาคการเงินที่กำหนดปัจจัยการพิจารณาที่เฉพาะเจาะจง ที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับการดำเนินธุรกรรมต่างๆ ปัจจัยสำคัญที่ 4 คือการเปิดเผยข้อมูลแผนการและแนวทางเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงและที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินกิจการขององค์กร กลยุทธ์และแผนการเงิน ปัจจัยสำคัญข้อสุดท้ายคือการระบุช่วงเวลาการดำเนินการ เนื่องจากแต่ละองค์กรต้องการทรัพยากร งบประมาณและเวลาที่แตกต่างกันในการจัดทำรายงานการเปิดเผยข้อมูลดังนั้นแต่ละองค์กรควรระบุช่วงเวลาดำเนินการและปรับปรุงข้อมูลระหว่างดำเนินการอยู่เสมอ

                ในส่วนของ “การตรวจวัดที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ” นั้น 4 ประเด็นสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นถูกเชื่อมโยงกันไว้ด้วย 3 ตัวเชื่อมประกอบด้วย 1) คุณลักษณะของระบบการตรวจวัดที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ 2) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับระบบการตรวจวัด 3) การเปิดเผยข้อมูลนำไปสู่การเปรียบเทียบประเภทการตรวจวัดข้ามอุตสาหกรรมได้ ในส่วนของตัวเชื่อมโยงที่ 1 TCFD อธิบายลักษณะของการรายงานที่ควรจะเป็นไว้ว่าองค์กรควรเริ่มด้วยการอธิบายหรือขยายความเกี่ยวกับระบบการตรวจวัดที่เกี่ยวกับการสภาพภูมิอากาศว่ามีความเกี่ยวข้องกับองค์กรหรือกิจกรรมขององค์กรอย่างไร มีความเสี่ยงและโอกาสอย่างไรต่อองค์กรบ้างและองค์กรมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสเหล่านั้นอย่างไรในแต่ละภาคส่วน เช่นการกำกับดูแลกิจการ กลยุทธ์องค์กรและกระบวนการจัดการความเสี่ยง ขั้นตอนนี้จะช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจถึงผลกระทบและโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากสิ่งที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ด้วยการอธิบายที่กำหนดช่วงเวลาอย่างเฉพาะเจาะจง ผลกระทบทางการเงินและผลลัพธ์จากการดำเนินการ การเปิดเผยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อความเข้าใจของบุคคลภายนอกคือการรายงานที่อธิบายถึงความเชื่อมโยงของข้อมูลต่างๆ ข้อจำกัดและข้อควรระวังอย่างชัดเจน นอกเหนือจากนั้นระบบการตรวจวัดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศควรระบุถึงบริบทแวดล้อมในประเด็นต่างๆ ที่ส่งผลต่อแนวคิดในการกำหนดเป้าหมายของผู้บริหาร ระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรและการสื่อสารวัตถุประสงค์ขององค์กร การบรรยายเนื้อหาอย่างเป็นลำดับเหตุการณ์และเป็นขั้นเป็นตอนสามารถช่วยให้ข้อมูลที่ซับซ้อนต่างๆ เช่น ขอบเขตหรือความรับผิดชอบขององค์กร การกำกับดูแลกิจการ หลักการ วิธีการและมาตรฐานการเตรียมความพร้อม ง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและบุคคลภายนอก และเนื่องจากระบบการตรวจวัดเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารจัดการภายในองค์กร ดังนั้นระบบการตรวจวัดที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศจึงควรถูกจัดการโดยปราศจากความลำเอียงและการประเมินคุณค่าที่โน้มเอียงไปในทางเอื้อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยไม่คำนึงถึงทัศนคติส่วนรวม ในแง่ของความสอดคล้องด้านเวลา TCFD กำหนดช่วงเวลาที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศสำหรับการรายงานเป็น 3 ช่วงคือ ปัจจุบัน อดีตและการคาดการณ์ล่วงหน้า โดยปัจจุบันหมายถึงปีปัจจุบันที่ต้องรายงานผลประกอบการประจำปี/รอบบัญชีปัจจุบันขององค์กร (ระยะเวลา 12 เดือน) อดีตหมายถึงรอบบัญชีย้อนหลังขององค์กร การคาดการณ์ล่วงหน้าหมายถึงหมายถึงการรายงานแผนการในอนาคตแบ่งเป็นแผนระยะสั้น แผนระยะกลางและแผนระยะยาว โดยการคาดการณ์ล่วงหน้าอาจรายงานบนพื้นฐานของระเบียบวิธีต่างๆ เช่น การวิเคราะห์สถานการณ์ การวิเคราห์แนวโน้ม การวิเคราะห์ความอ่อนไหว และการจำลองสถานการณ์ รวมถึงการระบุเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศให้ชัดเจนในแต่ละช่วงเวลา ดังที่แสดงใน รูปภาพที่ 1 การรายงานการคาดการณ์ล่วงหน้าแตกต่างจากการรายงานปัจจุบันและอดีต เนื่องจากการรายงานการคาดการณ์ล่วงหน้าตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคาดการณ์ถึงอนาคต จึงควรกำหนดขอบเขตการคาดการณ์ให้ชัดเจนโดยอาจอธิบายการคาดการณ์ในหลายแง่มุมไว้ในหนึ่งแผนการหลัก พร้อมกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจน ที่สำคัญระบบการตรวจวัดที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพควรเป็นการตรวจประเมินด้วยระบบเดิมในภาคส่วนเดิมขององค์กรในทุกรอบบัญชี เพื่อเป็นการติดตามผลการดำเนินการ ยกตัวอย่างเช่น การประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควรเปิดเผยข้อมูลขององค์กรทั้งในอดีต (รอบบัญชีก่อน/ปีฐาน) ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและตัวชี้วัดในรอบปีปัจจุบัน รวมถึงการกำหนดเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีต่อๆไปสำหรับการคาดการณ์ล่วงหน้า

                ตัวเชื่อมที่ 2 คือ การบรรยายเนื้อหาเสริมที่นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเปิดเผยข้อมูลแล้ว ยังสามารถช่วยเชื่อมโยงข้อมูลความเสี่ยงและโอกาสที่เกิดขึ้นจริงและอาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับการสภาพภูมิอากาศเข้ากับข้อมูลด้านอื่นขององค์กรให้มีความสอดคล้องกันอีกด้วย องค์กรควรนำเสนอข้อมูลการตรวจวัดที่เกี่ยวกับการสภาพภูมิอากาศร่วมกับการบรรยายเนื้อหาโดยกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนหรือใช้การแบ่งหมวดหมู่เชิงคุณภาพร่วมกับการนำเสนอค่าของการตรวจวัดต่างๆ โดยสิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญคือรูปแบบของการตรวจวัดที่นำมาใช้ว่ามาจากการตรวจวัดโดยตรง การประมาณการ การใช้ข้อมูลแทนการตรวจวัดโดยตรงหรือการบริหารจัดการทางทางบัญชีและการเงินเป็นต้น สิ่งสำคัญต่อมาคือการเลือกใช้ระเบียบวิธีและการให้ความหมายซึ่งหมายรวมถึงการกำหนดขอบเขตการใช้งานของวิธีการ แหล่งที่มาของข้อมูล ปัจจัยหรือตัวชี้วัดที่สำคัญ สมมติฐานและข้อจำกัดของระเบียบวิธี ยกตัวอย่างเช่น ระเบียบวิธีสำหรับการคำนวนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกำหนดให้อภิปรายเกี่ยวกับปัจจัย (factor) ขอบข่าย (scope)และขอบเขต (boundary) เป็นต้น ส่วนการบรรยายเนื้อหาที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์แผนการตรวจวัดนั้น องค์กรควรอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับแผนการสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมมติฐานและข้อจำกัดในอนาคตร่วมด้วย (ตารางที่ 1) นอกจากนี้องค์กรควรอธิบายให้ชัดเจนหากมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงระเบียนวิธีหรือการให้ความหมายของระบบการตรวจวัด สิ่งสำคัญอันดับสามคือข้อมูลแนวโน้ม ซึ่งข้อมูลแนวโน้มนี้จะช่วยในการอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงระบบการตรวจวัดทั้งหมดหรือบางส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดช่วงเวลาที่กำหนดไว้ไม่ว่าจะเกิดจากการเข้าถือสิทธิ์ การถอนทุนหรือนโยบายอื่นที่กระทบต่อผลลัพธ์ ปัจจัยสำคัญที่สี่คือการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์จากการตรวจวัดกับหน่วยงานต่างๆในองค์กร กลยุทธ์ธุรกิจ ศักยภาพและจุดยืนทางการเงิน องค์กรควรแยกส่วนข้อมูลประเภทของข้อมูลในการอธิบายเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจเช่น พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ หน่วยธุรกิจ สินทรัพย์ รูปแบบ กิจกรรมต้นน้ำและปลายน้ำ แหล่งที่มาและพื้นที่อ่อนไหวเป็นต้น ปัจจัยสำคัญที่ห้าคือการคำนึงถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและความเสี่ยงทางกายภาพต่อห่วงโซ่คุณค่าตลอดช่วงอายุที่กำหนดเช่น การรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดช่วงวงจรชีวิต ปัจจัยสำคัญสุดท้ายสำหรับการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศคือการประนีประนอมกับมาตรฐานมางการเงินและการบัญชีหากมีความจำเป็น เช่นในกรณีที่การรายงานอยู่ในรูปแบบทางการเงินองค์กรควรอธิบายถึงการประนีประนอมระหว่างระบบการตรวจวัดที่ใช้กับมาตรฐานทางการเงินอย่างชัดเจนว่าทั้งสองส่วนแต่กต่างหรือสัมพันธ์กันอย่างไร

รายละเอียดสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลแผนการที่เกี่ยวกับการสภาพภูมิอากาศ

หมวดหมู่การเปิดเผยข้อมูลวัตถุประสงค์
การกำกับดูแลกิจการ – การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารเกี่ยวกับกลยุทธ์และกระบวนการวางแผนตระหนักรู้ เข้าใจและแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับประเด็นสภาพภูมิอากาศ; เพิ่มความชำนาญเกี่ยวกับประเด็นสภาพภูมิอากาศให้กับคณะกรรมการบริหาร; กำหนดให้มีการรายงานการวิเคราะห์แผนดำเนินการและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับองค์กรต่อคณะกรรมการบริหาร
การบริหารจัดการความเสี่ยงกำหนดให้มีการรวมความเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่างๆ ในการวิเคราะห์แผนการดำเนินการ; ระบุปัจจัยที่ทำให้องค์กรเชื่อว่าจะพัฒนาแผนการดำเนินการได้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ; องค์กรมีวิธีระบุและบริหารจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างไร
กลยุทธ์ – การวิเคราะห์กระบวนการวางแผนดำเนินการอธิบายถึงวิธีการในการวิเคราะห์แผนดำเนินการ; อธิบายขอบเขตและความคาดหวังของแผนการที่ใช้; ระบุผลที่คาดว่าจได้รับไม่ว่าจะเป็นการวิเคาระห์แยกส่วนหรือวิเคราะหร่วมกับความเสี่ยงและกลยุทธ์การดำเนินการอื่นขององค์กร
กลยุทธ์ -กลยุทธ์ความยืดหยุ่นระบุถึงการตระหนักรู้และแผนการสำหรับผลกระทำที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศผ่านการวิเคราะห์แผนดำเนินการ; ระบุถึงแนวทางการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เมื่อจำเป็นภายใต้กรอบการวิเคราะห์แผนดำเนินการหลักระบุแผนทางการเงินที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ เช่น การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา หรือการลงทุนในด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายและการตรวจวัดระบุรูปแบบการตรวจวัดที่ใช้ในการรายงานข้อมูลที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ กลยุทธ์ความยืดหยุ่นและการบ่งชี้แผนดำเนินการ; ระบุถึงความเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบการตรวจวัดกับกลยุทธ์และการวิเคราะแผนดำเนินการขององค์กร; ระบุถึงวิธีการใช้เป้าหมายและรูปแบบการตรวจวัดอย่างชัดเจน

ตารางที่ 1 (TCFD, 2020, 45)

หมายเหตุ: การใช้แผนการและการนำเข้าข้อมูลเช่นตัวแปร กรอบระยะเวลา ระบบการตรวจวัดเฉาะเจาะจงสำหรับอุตสาหกรรมหรือระเบียบวิธีที่เป็นมาตรฐานสากล ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเปรียบเทียบข้อมูลทั้งองค์กร เพิ่มความน่าเชื่อถือและความเกี่ยวเนื่องของข้อมูลรวมถึงช่วยลดการใช้ทรัพยากรในการพัฒนาแผนการภายในองค์กรอีกด้วย ในทางกลับกันการใช้แผนการมาตรฐานกับทุกหน่วยงานทั้งองค์กรอาจลดประสิทธิภาพในการตรวจวัดสำหรับกิจกรรมและความเสี่ยงเฉพาะที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบโดยตรงจากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับความเสี่ยงให้ครอบคลุมก่อนจะกำหนดแผนการ

                การเปิดเผยข้อมูลที่นำไปสู่การเปรียบเทียบได้คือตัวเชื่อมที่ 3 ที่ช่วยให้การเปิดเผยข้อมูลสอดคล้องกับกระแสสากล โดยทั่วไประบบการตรวจวัดที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ 1) แบบที่ใช้ได้กับทุกองค์กร และ2) แบบที่ใช้เฉพาะเจาะจงสำหรับอุตสาหกรรม (อุตสาหกรรมเฉพาะ) โดยทั้ง 2 ประเภทสามารถอ้างอิงรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก International Sustainability Standards Board (ISSB) that established by the IFSC Foundation TCFD จึงแนะนำให้จัดเตรียมการเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบ “ข้ามอุตสาหกรรม” และแบ่งหมวดหมู่ระบบการตรวจวัดที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศในการอธิบายตลอดทั้งช่วงเวลาในอดีต ปัจจุบันและการคาดการณ์ล่วงหน้า สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือคำแนะนำในการเปิดเผยข้อมูลต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านกลยุทธ์ เป้าหมายหรือระบบการตรวจวัดนั้นเป็นเพียงการชี้ให้เห็นสาระสำคัญที่ควรมีในการเปิดเผยข้อมูลเท่านั้น สำหรับการนำไปใช้จริงสามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กรได้ จะมีเพียงการเปิดเผยข้อมูลด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสโคป 1 สโคป 2 และสโคป 3 เท่านั้น ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การนำระบบประเมินที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศมาใช้ในรูปแบบข้ามอุตสาหกรรม ไม่ควรนำมาใช้เพื่อแปลี่ยนแปลงหรือแทนที่ฐานข้อมูลเดิมที่ใช้อยู่ในองค์กร แต่ควรนำมาใช้เพื่อหาทางบรรจบข้อมูลเดิมกับข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเพื่อค้นหาและนำเสนอความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับองค์กรหรืออุตสาหกรรมได้อย่างเที่ยงตรง TCFD ยกตัวอย่างและอธิบายถึงระบบการตรวจวัดประเภทข้ามอุตสาหกรรมไว้ 7 ประเภทในตารางที่ 2 (TCFD, 2021)

ประเภทระบบการตรวจวัดตัวอย่างหน่วยในการตรวจวัดตัวอย่างระบบการตรวจวัด
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สมบูรณ์และครอบคลุมสโคป 1 สโคป 2 และสโคป 3  MT of CO2eอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สมบูรณ์และครอบคลุม สโคป 1 สโคป 2 และสโคป 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ผลต่อการเงินโดยแบ่งตามระดับของสินทรัพย์กำหนดค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักความเข้มข้นก๊าซเรือนกระจกการหาค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อ MWh ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสโคป 1 ทั้งหมดต้องไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง จำนวนหรือขนาดของสินทรัพย์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ที่ไม่มั่นคงอันจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณหรือเปอร์เซนต์จำนวนอสังหาริมทรัพย์ที่มีผลให้เกิดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ (อุตสาหกรรมทั่วไป)ให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือในการเปิดเผยข้อมูลสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (อุตสาหกรรมทั่วไป)เปอร์เซนต์ของรายได้จากเหมืองถ่านหิน (อุตสาหกรรมพลังงาน)เปอร์เซนต์ของรายได้จากกิโลเมตรรวมของผู้โดยสารที่เกินกว่าที่ Carbon Offsetting and Reduction Scheme for International Aviation (CORSIA) กำหนด (อุตสาหกรรมการบิน)
ความเสี่ยงเชิงกายภาพ จำนวนหรือขนาดของสินทรัพย์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ที่ไม่มั่นคงอันจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงเชิงกายภาพปริมาณหรือเปอร์เซนต์จำนวนและมูลค่าสินเชื่อที่มีอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน (จำนอง) ในระยะเวลา 100 ปีสำหรับที่น้ำท่วมถึงความสามารถในการบำบัดน้ำเสียในระยะเวลา 100 ปีสำหรับที่น้ำท่วมถึงรายได้ที่เกี่ยวข้องกับการสูบน้ำและการใช้น้ำในพื้นที่ที่มีความเครียดน้ำสูงหรือสูงมากเกินค่ามาตรฐานสัดส่วนของอสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐานหรือสินทรัพย์อื่นๆที่องค์กรถือครอง ที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ความเครียดจากความร้อนหรือความเครียดน้ำสัดส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่เปิดเผยต้องอยู่ที่อัตราส่วน 1:100 หรือ 1:200 จากอันตรายที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ
โอกาสที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ สัดส่วนรายได้ สินทรัพย์ต่างๆ หรือกิจกรรมทางธุรกิจอื่นที่สอดคล้องกับโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศปริมาณหรือเปอร์เซนต์เบี้ยประกันภัยสุทธิที่เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำจำนวนของ 1) ยานพาหนะที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (ZEV), 2) ยานพาหนะแบบไฮบริด (HEV)และ 3) ยานพาหนะแบบไฮบริดและพลังงานที่ใช้กับมอเตอร์ได้มาจากการชาร์จไฟจากสถานีจ่ายไฟ (PHEV)รายได้จากสินค้าหรือบริการที่ส่งเสริมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำสัดส่วนการได้รับการรับรองต่างๆจากบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกเช่น ด้านการขนส่ง หรืออาคารเขียวเป็นต้น
การใช้เงินทุน จำนวนรายจ่ายการลงทุน  การเงินหรือการลงทุนที่นำไปสู่ความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศสกุลเงินที่เกี่ยวข้องกับการรายงานเปอร์เซนต์ของรายได้ต่อการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาสินค้าหรือบริการคาร์บอนต่ำการลงทุนในการชี้วัดการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นคุณภาพดิน ระบบชลประทาน หรือเทคโนโลยีเป็นต้น
ราคาคาร์บอนภายในองค์กร (ICP) ราคาต่อตันของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใช้ภายในองค์กรใดองค์กรหนึ่งสกุลเงินที่เกี่ยวข้องกับการรายงานต่อ MT of CO2eราคาคาร์บอนภายในองค์กรราคาเงาหรือราคาสมมติฐานตามภูมิศาสตร์
ค่าตอบแทน สัดส่วนค่าตอบแทนคณะกรรมการบริหารที่เชื่อมโยงกับการตัดสินใจด้านสภาพภูมิอากาศ**  เปอร์เซนต์  ค่าน้ำหนัก การอธิบายหรือจำนวนสกุลเงินที่เกี่ยวข้องกับการรายงาน  สัดส่วนของโบนัสของพนักงานที่เชื่อมโยงกับการลงทุนในสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศสร้างแรงจูงใจโดยให้ค่าน้ำหนักในการวัดผลดำเนินการ (Scorecard) และค่าตอบแทนตามการวัดผลสำหรับการกำหนดเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาวของกรรมการบริหารสร้างแรงจูงใจโดยให้ค่าน้ำหนักในการวัดผลดำเนินการ (Scorecard) และค่าตอบแทนตามการวัดผลสำหรับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศสำหรับพนักงาน

ตารางที่ 2 (TCFD, 2021, 16-17)

*การเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงเชิงกายภาพ: เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลเป็นการรวมกันของหลักทรัพย์มากมายที่อยู่ในครอบครองขององค์กรหนึ่งและการได้มาซึ่งข้อมูลจากหลายแหล่ง อาทิ หน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร ผู้จัดการกองทุนภายนอกหรือสถาบันการเงิน อาจเป็นเรื่องท้าทายและส่งผลให้ยากที่จะเปิดเผยปริมาณตัวเลขที่เกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเพียงอย่างเดียว ดังนั้น TCFD แนะนำให้สถาบันการเงินจัดเตรียมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพถ้าสามารถทำได้

**ค่าตอบแทน: ถึงแม้ว่า TCFD จะสนับสนุนให้การเปิดเผยข้อมูลเป็นเชิงปริมาณแต่องค์กรควรอธิบายเกี่ยวกับนโยบายการให้ผลตอบแทนและการนำไปใช้ เช่นประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถูกรวมเข้าไปในระบบการวัดผลดำเนินการ (Balance Scorecard) อย่างไรและส่งผลต่อค่าตอบแทนของกรรมการบริหารอย่างไร

International References:

  1. FSB (2020) About the FAB. [online] Basel: Financial Sustainability Board. Available from: https://www.fsb.org/about/ [Access 28 May 2023].
  2. FSB (2023) Members of the FSB. [online] Basel: Financial Sustainability Board. Available from: https://www.fsb.org/about/organisation-and-governance/members-of-the-financial-stability-board/ [Access 28 May 2023].
  3. TCFD (2020) Task Force on Climate-related Financial Disclosures: Guidance on Scenario Analysis for Non-Financial Companies. [online] New York: Task Force on Climate-related Financial Disclosures. Available from: https://www.fsb-tcfd.org/publications/ [Access 29 May 2023].
  4. TCFD (2021). Task Force on Climate-related Financial Disclosures: Guidance on Metrics, Targets, and Transition Plans. [online] New York: Task Force on Climate-related Financial Disclosures. Available from: https://www.fsb-tcfd.org/publications/ [Access 28 May 2023].
  5. TCFD (2022). Task Force on Climate-related Financial Disclosures: Overview. [online] New York: Task Force on Climate-related Financial Disclosures. Available from: https://www.fsb-tcfd.org/publications/ [Access 28 May 2023].

มาตรฐานการรายงาน ESG ที่นิยม: Global Reporting Initiative (GRI)

มาตรฐานการจัดทำรายงานGlobal Reporting Initiative (GRI) คือ มาตรฐานการรายงาน ESG ที่มีทรัพยากรและเครื่องมือให้กับองค์กรต่างๆ ในการทำความเข้าใจและสื่อสารเกี่ยวกับการสร้างความยั่งยืนที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ จากการสำรวจข้อมูลของ GRI พบว่า 82% ขององค์กรขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 250 แห่งมีการรายงานความยั่งยืนตามกรอบ GRI และพบว่ามีองค์กร จำนวน 10,557 แห่งทั่วโลกรายงานตามกรอบ GRI โดยมีการเผยแพร่รายงานแล้วกว่า 27,000 ฉบับ สำหรับประเทศไทยมีองค์กรทั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 177 แห่งใช้ GRI เป็นกรอบการรายงานโดยเผยแพร่ ไปแล้ว 342 ฉบับ  GRI เป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งโดยสำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และเครือข่าย Ceres  โดยเผยแพร่แนวปฏิบัติการรายงานเป็นครั้งแรกในปี 2543 เรียกว่า ฉบับ G1 จากนั้นได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่ง มาถึงฉบับ G4 ที่มีการปรับปรุงให้แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง โดยเน้นคุณภาพการรายงานมากกว่าปริมาณในการรายงาน โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลในประเด็นการวิเคราะห์ คัดเลือกประเด็นสำคัญของธุรกิจ (Material Aspects) และประเด็นการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร (Stakeholder Analysis) อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงระดับของการรายงาน ที่แต่เดิมกำหนดเป็น Level A, B, C ทำให้เกิดความสับสนว่าการให้เกรดเป็นการบ่งชี้คุณภาพของการรายงาน ซึ่งที่จริงแล้วเป็นเพียงมาตรวัดปริมาณหรือระดับของการเปิดเผยข้อมูลตามแนวทาง GRI ดังนั้น GRI G4 นี้จึงใช้การวัดตามหลักเกณฑ์ ที่เรียกว่า ‘In Accordance’ ในแบบหลัก (Core) หรือแบบรวม (Comprehensive) แทนวิธีการให้ Level ซึ่งจะทำให้องค์กรให้ความสำคัญกับเนื้อหาการรายงานที่สอดคล้องกับบริบทของธุรกิจและความสนใจของผู้มีส่วนได้เสียมากยิ่งขึ้น จากความนิยมใน GRI ฉบับ G4 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในปี 2559 GRI ได้ออกมาตรฐานการรายงาน  “GRI Standards” ทดแทนฉบับ G4 ที่ยังคงมีเนื้อหาหลักการและรูปแบบการรายงานที่เหมือนเดิม สำาหรับส่วนที่แตกต่างไปจากเดิมคือโครงสร้างการรายงานที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น และลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลการรายงานโดยการเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดที่สำคัญบางตัว นอกจากนี้โครงสร้างของ GRI Standards ได้ออกแบบให้รองรับการเปลี่ยนตัวชี้วัดหรือข้อกำหนดภายในองค์กรในอนาคตโดยไม่ต้องทบทวนใหม่ทั้งฉบับ อีกทั้ง GRI Standards ไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเพียงการรายงานเพื่อสื่อสารเท่านั้น แต่ได้ถูกพัฒนาเพื่อเป็น Checklist ที่ช่วยให้องค์กรนำไปวางแผนกลยุทธ์ในระยะยาว จากบทความ “Sustainability Reporting as a Tool for Better Risk Management” ในนิตยสาร MIT Sloan Management Review 2016 โดย Michael Meehan ระบุว่าการรายงานตาม GRI จะทำให้องค์กรเห็นช่องว่างระหว่างการดำเนินธุรกิจการกับความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่า เมื่อองค์กรเข้าใจแล้วว่าต้องดำเนินการอย่างไรที่จะปิดช่องว่างเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดกระบวน “การพัฒนา” เพื่อนำไปสู่การสร้าง “มูลค่าเพิ่ม” ให้แก่องค์กรและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น GRI จึงเป็นเรื่องของการจัดการธุรกิจไม่ใช่แค่การทำรายงานเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกระบวนการเก็บข้อมูล การเรียบเรียงและเชื่อมโยงข้อมูลกับกลยุทธ์องค์กร การวัดและประเมินผลการดำเนินงาน  ทั้ง 3 สิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญของการจัดทำรายงาน ขั้นตอนเหล่านี้จะทำให้องค์กรเห็นพัฒนาการและสามารถลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะดำเนินการก่อนหลังได้ อีกทั้งช่วยให้ฝ่ายบริหารมีข้อมูลในการตัดสินใจที่อาจนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสการแข่งขัน เพิ่มมูลค่า และคุณค่าให้แก่ธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งนี้การจัดทำรายงานความยั่งยืนสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบตามความพร้อมขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีหรือแยกออกมารายงานต่างหาก หรือจะเผยแพร่ในรูปเล่มรายงาน ข้อมูลดิจิทัล หรือข้อมูลบนเว็บไซต์องค์กร   สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงคือผู้ใช้ข้อมูลและความเหมาะสมของช่องทางเผยแพร่ข้อมูลที่เข้าถึงง่ายและรวดเร็ว ปัจจุบันมีการนำสื่อเทคโนโลยี สมัยใหม่มาช่วยนำเสนอข้อมูล ESG ให้มีความน่าสนใจดึงดูดผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ซึ่งอาจนำเสนอในรูปแบบ Infographic หรือ Motion Clip เพื่อเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียเพื่อให้เกิดผลลัพธ์และภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร (Tantimangkorn, A. and Ekachaiphaiboon, S., 2017) มาตรฐานการรายงาน GRI เป็นมาตรฐานสากลเดียวในปัจจุบันที่ช่วยให้การรายงานผลกระทบด้านความยั่งยืนครอบคลุมสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกแง่มุมผ่านโครงสร้างการรายงานของ GRI ยกตัวอย่างเช่น GRI มีบทบาทสำคัญในการทำงานร่วมกับ European Financial Reporting Advisory Group (EFRAG) and the International Sustainability Standard Board (ISSB) ในการสร้างมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่ครอบคลุมในระดับสากล มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของ GRI มีรากฐานสำคัญคือการแบ่งโครงสร้างการรายงานออกเป็น 2 แกนคือมาตรฐานการรายงานด้านการเงินและมาตรฐานการรายงานความยั่งยืน โดยมีเนื้อหาที่ครอบคลุมถึงสิ่งที่นักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการ เพื่อเพิ่มความมั่นใจและความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรในด้านความยั่งยืน GRI มีนโยบายที่ชัดเจนในการสร้างมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลแบบโครงสร้างสองส่วนผ่านความร่วมมือกับ EFRAG, ISSB และองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องในหลายประเทศทั่วโลกด้วยความเชื่อว่าความไว้วางใจเกิดจากการตรวจสอบและการตรวจสอบได้นั้นเกิดจากความโปร่งใส ดังนั้นการเปิดเผยข้อมูลหรือการรายงานควรเป็นข้อมูลตามความเป็นจริงที่ตั้งอยู่บนมาตรฐานการตรวจวัดที่เป็นสากลทั้งในแง่ของการเงินและผลกระทบที่เกี่ยวกับความยั่งยืน เนื่องจากระเบียบวิธีที่ปราศจากความรับผิดชอบไม่สามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ (GRI, 4., 2022)

ฉากทัศน์การรายงานความยั่งยืนของ GRI

ปัจจุบันฉากทัศน์ของการรายงานด้านความยั่งยืนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดร็วเนื่องจากการตื่นตัวด้าน ESG ที่เพิ่มมากขึ้นไม่วาจะเป็นการลงทุน การจัดอันดับที่ส่งผลต่อกองทุนรวมดัชนี ความต้องการมาตรฐานการรายงาน การเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อยกระดับการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในทางกลับกันการให้เหตุผลวิบัติโดยการใช้หลักฐานที่ไม่สมบูรณ์หรือการฟอกเขียวที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานและกรอบการรายงานก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน อาจกล่าวได้ว่าฉากทัศน์การรายงานความยั่งยืนในปัจจุบันยังคงมีความสับสนในการจัดประเภทหรือหมวดหมู่การรายงานอยู่มากเนื่องจากการเกิดขึ้นของแนวทาง กรอบการรายงาน การสำรวจหรือการรับรองมาตรฐานที่มีอยู่มากมายในตลาด หากแต่ในระดับสากลนั้นมีเพียง 2 มาตรฐานการรายงานเท่านั้นคือ GRI และ SASB ที่ครอบคลุมบริบทด้านความยั่งยืนและมีการจัดประเภทละหมวดหมู่การรายงานอย่างชัดเจน และกำลังมีการพัฒนาที่สำคัญเพื่อยกระดับความสมบูรณ์ของมาตารฐานการเปิดเผยข้อมูลคือ: 1) European Sustainability Reporting Standards (ESRS) ที่ถูกจัดทำขึ้นโดยสหภาพยุโรปร่วมกับ GRI และ EFRAG 2) Standards for the disclosure of sustainability ที่เชื่อมโยงข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้นจัดทำโดย the International Financial Reporting Standards (IFRS) Foundation ภายใต้ความรับผิดชอบของ International Sustainability Standards Board (ISSB) ความแตกต่างของแนวทางพัฒนาทั้ง 2 คือ: 1) ความแตกต่างแรกคือกลุ่มเป้าหมาย โดยสหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับมาตรฐานการรายงานที่ตอบโจทย์ความต้องการข้อมูลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายบนพื้นฐานแนวคิดที่หลากหลายของความยั่งยืนครอบคลุมทุกแง่มุมทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่วน IFRS นั้นให้ความสำคัญกับการผ่อนปรนข้อจำกัดต่างๆให้สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนและผลกระทบด้านการเงินที่เกิดขึ้นจากประเด็นด้านความยั่งยืนเป็นหลัก ทั้งในส่วนของการรายงานและในส่วนของการสร้างคุณค่าต่อองค์กร 2) ความแตกต่างที่สองคือการบังคับใช้มาตรฐาน โดยมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของสหภาพยุโรปได้รับการสนับสนุนผ่านกระบวนการทางการเมืองมีผลบังคับใช้ตามกฏหมาย ดังนั้นกว่า 50,000 บริษัทจึงจำเป็นต้องทำราบงานการเปิดเผยข้อมูลนี้โดยเริ่มมีผลบังคับในปีงบประมาณ 2565 ในทางกลับกัน IFRS ทำได้เพียงกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจและการนำมาตรฐาน ISSB มาใช้เท่านั้น โดย GRI มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการสร้างระบบการเปิดเผยข้อมูลที่ครอบคลุมโครงสร้างการรายงานทั้งการรายงานทางการเงินและการรายงานความยั่งยืน โดยการให้ความสำคัญกับแกนหลักของของมาตรฐานการรายงานทั้ง 2 แกนเท่าๆ กันบนพื้นฐานแนวคิดที่ว่าการดำเนินการรายงานด้านความยั่งยืนควรเป็นแรงผลักดันมากกว่าจะเป็นการแข่งขันดังที่แสดงใน รูปภาพที่ 1.

• แกนที่ 1 – ระบุแนวทางการพิจารณาด้านการเงินผ่านการรายงานทางการเงินที่มีประสิทธิภาพซึ่งประกอบด้วยการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในบริบทที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าองค์กกร

• แกนที่ 2 – ให้ความสำคัญกับการรายงานความยั่งยืนที่ฉายภาพผลกระทบภายนอกทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับสังคมและสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมขององค์กร รวมถึงระบุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบเหล่านั้น

รูปภาพที่ 1 (GRI, 3., 2022, 2)

GRI ให้คำมั่นสัญญาในการสนับสนุนวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนผ่านการทำงานร่วมกับ ISSB, EFRAG และองค์กรภาครัฐในประเทศต่างๆ ในการผลักดันการเปิดเผยข้อมูลทั้ง 2 แกนของการรายงานและเรียกร้องให้เกิด:

• ความร่วมมือในการจัดทำมาตรฐานรวมถึงการทำโครงการนำร่องตามมาตรฐานความหลากหลายทางชีวภาพ

• ความสอดคล้องกับกำหนดการสากล (GRI, 3., 2022)

ในปี 2564 GRI ได้ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลตามแนวทางกลยุทธ์ของ IFRS รวมถึงจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง GRI และ IFRS และในเดือนพฤศจิกายน 2564 GRI ก็ได้รับเรื่องการประกาศใช้มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของ ISSB ว่าด้วยการควบรวม the Climate Disclosure Standards Board (CDSB) และ the Value Reporting Foundation (VRF) (ซึ่งรวมถึง IIRC และ SASB) เข้าด้วยกันและเปลี่ยนชื่อเป็น ISSB รวมถึงการประกาศแนวทางการใช้งานมาตรฐาน GRI และ SASB ร่วมกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ GRI ได้ร่วมมือกับ IIRC and SASB มาเป็นเวลานานแล้ว ต่อมาในเดือนมีนาคม 2065 GRI และ IFRS Foundation ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลรวมถึงการเข้าร่วมกลุ่มที่ปรึกษาเกี่ยวกับการรายงานความยั่งยืนของกันและกัน ผลของการทำงานร่วมกันคือการได้มาซึ่ง 2 แกนหลักในการเปิดเผยข้อมูล โดยในแกนแรกที่มุ่งประเด็นไปที่นักลงทุนและตลาดทุนตามมาตรฐานของ IFRS ถูกพัฒนาโดยร่วมมือกับ ISSB และแกนหลักที่สองที่เป็นข้อกำหนดในการรายงานความยั่งยืนของ GRI ไดรับการพัฒนาร่วมกับ GSSB (Global Standard Setting Board) ซึ่งสอดคล้องกับแกนที่ 1 และตอบโจทย์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ในอีกทางหนึ่ง GRI และ EFRAG ทำงานร่วมกันเพื่อสร้าง ESRS (European Sustainability Reporting Standards) เพื่อเป็นข้อบังคับในการเปิดเผยข้อมูลสำหรับสหภาพยุโรปภายใต้กรอบ Corporate Sustainability Reporting Directive (CSRD) ของสหภาพยุโรป Under the EFRAG-GRI โดยในข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง EFRAG และ GRI ทั้งสององค์กรเห็นพ้องในการร่วมมือทั้งในแง่ของผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆและในแง่การสร้างมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่สอดคล้องกิจกรรมการดำเนินงานและกรอบเวลาให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (GRI, 2., 2023)

พื้นฐานและความสับสนของเนื้อหาสาระ

“เนื้อหาสาระ” คือพื้นฐานสำคัญที่สุดในโลกของการรายงานทั้งในส่วนของการเตรียมการเปิดเผยข้อมูลและในส่วนของการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้ตรวจสอบบัญชี เนื้อหาสาระถูกใช้เพื่อเป็นตัวกรองการนำเข้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือน่าจะเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เนื้อหาสาระนี้คือข้อมูลเฉพาะเจาะจงหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่อาจโน้มน้าวหรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวกับองค์กรที่เสนอรายงาน คำอธิบายสั้นๆ นี้สรุปได้ว่าเนื้อหาสาระไม่ใช่แนวคิดที่ชัดเจนหากแต่ขึ้นอยู่กับการตีความ โดยสิ่งที่สำคัญกว่าการให้ความหมายของเนื้อหาสาระด้วยข้อมูลคือการที่ต้องระบุได้ด้วยว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือใครบ้างเช่น อาจตั้งคำถามก่อนว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่องค์กรหมายถึงคือเฉพาะผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเงินเช่นนักลงทุนหรือนักการเงิน หรือหมายรวมถึงผู้เกี่ยวข้องอื่นที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วยเช่นพนักงาน ผู้จำหน่ายสินค้า ผู้บริโภค และชุมชนเป็นต้น  คำถามต่อมาคือองค์กรจะแปลความข้อมูลเหล่านั้นเป็นการโน้มน้าวผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร จะเป็นการนำเสนอข้อมูลด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนหรือการดำเนินการเพียงอย่างเดียว (เน้นการสร้างมูลค่าให้กับองค์กร) หรือจะควรรายงานผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย จะเห็นได้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับการให้ความหมายคำว่าเนื้อหาสาระมักสร้างความสับสนอยู่มาก GRI จึงกำหนดแนวทางในการระบุเนื้อหาสาระไว้สองแนวทางซึ่งรวมกันเป็น “เนื้อหาสาระคู่” เพื่อสร้างความชัดเจนตั้งแต่เริ่มเตรียมการเปิดเผยข้อมูลดังที่แสดงในรูปภาพที่ 2:

รุปภาพที่ 2 (GRI, 1., 2022, 2)

เมื่อไม่นานมานี้มีการตั้งชื่อเรียกที่ใกล้เคียงกับแนวคิดเนื้อหาสาระด้านการเงินและเนื้อหาสาระด้านผลกระทบมากมายเช่น “พลวัตสาระสำคัญ” “ระบบเนื้อหาสาระ” “การขยายสาระสำคัญ” และ “แกนเนื้อหาสาระ” คำเหล่านี้ถูกใช้เพื่อสื่อความหมายถึงการเชื่อมโยงระหว่างสาระสำคัญด้านการเงินและผลกระทบทั้งสิ้น แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้ช่วยเติมเต็มความสับสนเกี่ยวกับเนื้อหาสาระเท่าไรนักมีแต่จะเพิ่มความซับซ้อนต่อการทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น จากที่กล่าวมาคำที่พบมากที่สุดคือ “พลวัตสาระสำคัญ” ซึ่งมีที่มาจากการให้ความสำคัญกับเนื้อหาสาระด้านการเงินเป็นสำคัญและขยายไปสู่แนวคิด “ข้อมูลสินเชื่อก่อนดำเนินการ” ประเด็นที่ถูกเบี่ยงเบนออกไปคือประเด็นด้านความยั่งยืนบางประเด็นไม่ได้ส่งผลกระทบทางการเงินต่อการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจขององค์กรในปัจจุบันโดยตรงแต่อาจส่งผลในอนาคตระยะกลางและระยะยาวได้ ด้วยขอบเขตที่คลุมเครือระหว่างเนื้อหาสาระด้านการเงินและผลกระทบทำให้การระบุเนื้อหาที่จับต้องได้สำหรับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนเป็นเรื่องยากและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามสถิติแล้วข้อมูลบางอย่างเป็นข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหวมากกว่าข้อมูลคงที่ ส่งผลให้โดยพื้นฐานแล้วแนวคิดของพลวัตสาระสำคัญทำได้เพียงแค่เลื่อนเวลาในการทำเนื้อหาสาระคู่ที่มีขอบเขตที่ชัดเจนกว่าออกไปเท่านั้น เนื่องจากท้ายที่สุดแล้วองค์กรต่างๆ ควรรายงานใจความสำคัญที่นำมาซึ่งคุณค่า (เนื้อหาสาระด้านการเงิน) และใจความสำคัญของผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม (เนื้อหาสาระด้านผลกระทบ) ซึ่งในความเป็นจริงนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับองค์กรจะมาในรูปแบบของการเงินเสมอ หากไม่เข้าใจความจริงข้อนี้แล้วจะไม่สามารถสรุปประเด็นด้านการเงินที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรได้เลยซึ่ง GRI ให้ความสำคัญกับข้อนี้มาก นอกจากนั้นการรายงานด้านผลกระทบจะต้องส่งเสริมและสอดคล้องกับการรายงานด้านการเงินด้วยการระบุกิจกรรมที่ถูกต้องและได้รับความสนใจจากประชาชนเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายด้วย ใจความสำคัญของผลกระทบต่างๆจำเป็นต้องถูกรายงานแม้ว่าองค์กรหรือผู้ถือหุ้นขององค์กรไม่ได้ระบุไว้ในเนื้อหาด้านการเงินทั้งในปัจจุบันหรือในอนาคตก็ตาม กล่าวคือทั้งสองมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนที่ GRI กำลังพัฒนาอยู่ 1. The European Sustainability Reporting Standards (ESRS) ที่สร้างขึ้นโดยสหภาพยุโรปจะตั้งอยู่บนพื้นฐานเนื้อหาสาระคู่เพื่อตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายรวมถึงนักลงทุนต่างๆด้วย 2. The standards for the disclosure of sustainability-related financial information ที่ร่างขึ้นโดย IFRS Foundation จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของเนื้อหาสาระทางการเงินเพื่อตอบสนองต่อนักลงทุนเท่านั้น ในมุมมองของ GRI ไม่ควรนำระเบียบวิธีการเปิดเผยข้อมูลของ IFRS และยุโรปมาเปรียบเทียบกันแต่ควรมองว่าเป็นสิ่งที่เติมเต็มซึ่งกันและกันมากกว่า เนื่องจากมาตรฐานที่แตกต่างกันย่อมมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันเพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แตกต่างกัน โดยสรุปแล้วมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของ GRI เป็นมาตรฐานสากลเดียวในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการรายงานผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายและการใช้ผลกระทบเหล่านั้นเป็นปัจจัยในการเขียนโครงสร้างการรายงานที่อยู่บนพื้นฐานของเนื้อหาสาระคู่ (GRI, 1., 2022)

แนวทางปฏิบัติแบบทุนนิยมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ทุนนิยมยั่งยืน)

แนวคิดเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่เริ่มเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้นตั้งแต่ช่วงยุค 80 โดยแนวคิดนี้ให้ความสำคัญกับการรายงานผลต่อผู้บริหารและผู้ถือหุ้นเท่านั้น ดังนั้นหน้าที่สำคัญในการดำเนินกิจการขององค์กรคือ “การทำกำไรสูงสุด”  และเรื่องของสังคมปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการบริหารจัดการ แต่ในปัจจุบันหลายคนเชื่อว่าแนวคิดนี้ (ในรูปแบบที่สุดโต่ง) ไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไปเนื่องจากวัตถุประสงค์ของการสร้างคุณค่าโดยองค์กรเพื่อผู้ถือหุ้นอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป และเริ่มขยายไปสู่การคำนึงถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมและการคำนึงถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสังคมกลุ่มใหญ่ขึ้นที่เรียกว่า “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ด้วย เนื่องจากประเด็นเหล่านี้คือมุมมองตลาดที่เปลี่ยนไปและจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์กร ความสามารถในการจัดจ้างบุคลากร การบริหารจัดการและลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม (ในกรอบคุณค่าและห่วงโซ่อุปทานขององค์กร) และการเข้าถึงตลาดทุน เหตุการณ์สำคัญที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงนี้เช่น การกำหนดกระบวนทัศน์ในการกำกับดูแลกิจการฉบับใหม่ของ the International Business Council of the World Economic Forum (WEF), the subsequent 2020 Davos Manifesto, รวมถึงการนำแนวคิดการกำกับดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาใช้ของ the American Business Roundtable. เมื่อความหมายที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับการตีความใหม่คือ ผลประโยชน์ (ส่วนได้ส่วนเสีย) คือบางอย่างที่มีคุณค่าต่อปัจเจกหรือกลุ่มที่เป็นผลจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร ดังนี้แล้วจะเห็นว่ามีปัจเจกและกลุ่มทั้งมนุษย์และไม่ใช่มนุษย์มากมายที่มีแนวโนมได้รับผลกระทบจากกิจกรรมขององค์กร ตัวอย่างเช่น หุ้นส่วนทางธุรกิจ องค์กรภาคประชาสังคม ผู้บริโภค ลูกค้า พนักงานรัฐบาล ชุมชนท้องถิ่น องค์กรเอกชนเพื่อสาธารณะประโยชน์ ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน ผู้จัดจำหน่ายสินค้าและบริการ สหภาพแรงงาน และประชาชนกลุ่มเปราะบางเป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกระบุว่าเป็น “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ซึ่งหน้าที่ขององค์กรในการใช้รูปแบบเศรษฐกิจที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นศูนย์กลางนั้นคือการสร้างสมดุลให้กับกิจกรรมทางธุรกิจที่สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับนักลงทุนในขณะที่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไปพร้อมกัน แต่น่าเสียดายที่การทำเช่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเนื่องจากปัจจัยแรกองค์กรไม่สามารถตอบสนองความต้องการของทุกคนได้ ปัจจัยต่อมาคือองค์กรต้องการเงินเพื่อที่จะสามารถแข่งขันในตลาดได้ บางการตัดสินใจทางธุรกิจอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกับประโยชน์บางอย่างของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้นเครื่องมือที่มีอิทธิพลในการแสดงให้สังคมโลกเห็นถึงการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมคือการอธิบายถึงกิจกรรมที่องค์กรจะทำ (และจะทำมากขึ้น) ผลประโยชน์ที่ได้รับ (พยายามจะได้มา) ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ชัดเจนเพื่อเป็นการรับประกันผลประโยชน์ให้พวกเขาเหล่านั้น และนั่นเป็นจุดที่การรายงานด้านการเงินและการรายงานด้านความยั่งยืนของ GRI เข้ามามีบทบาทในการเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจต่อสังคมโลก ซึ่งเรื่องของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมนั้นมากมายนอกเหนือจากแค่การประเมินและตรวจวัดที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศหรือผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น 10 อันดับสูงสุดของการใช้มาตรฐานการรายงานของ GRI ในปี 2564 ที่แสดงในรูปภาพที่ 3 สะท้อนให้เห็นความหลากหลายนี้อย่างชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้นองค์กรต่างๆในโลกนี้ก็มีขอบเขตของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน และมีอีกหลายองค์กรที่เผชิญแรงกดดันจากสังคมละรัฐบาลมากกว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

รูปภาพที่ 3 (GRI, 2., 2022, 2)

GRI นำแนวคิดทุนนิยมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาประยุกต์ใช้โดยวัตถุประสงค์หลักคือการแนะนำให้องค์กรมีบทบาทสำคัญในการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อสร้างงานรวมถึงพัฒนาบุคลากร นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สำคัญต่อการเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นการใช้พลังงานทดแทน และนอกเหนือจากนั้นองค์กรก็ควรคำนึงถึงการกำหนดเป้าหมายที่สอดคล้องกับผลกระทบด้านความยั่งยืนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ด้วย โดยการรายงานต้องครอบคลุมทั้งรายงานด้านความยั่งยืนและการรายงานด้านการเงินทั้งหมดซึ่งหมายรวมถึง รูปแบบองค์กร ผู้จัดการสินทรัพย์ ผู้ถือกรรมสิทธ์ในสินทรัพย์ หรือบริษัทตัวแทนในการประเมินสินทรัพย์ต่างๆ ขององค์กรด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามกฏระเบียบหรือกฏหมายในการสั่งการที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์และรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม GRI จึงเป็นผู้สนับสนุนที่แข็งแกร่งให้กับการสร้างระบบการรายงานที่ครอบคลุมให้กับองค์กรบนพื้นฐานของโครงสร้าง 2 แกน (การรายงานด้านการเงินและด้านความยั่งยืนอย่างเท่าเทียม) (GRI, 2., 2022)

มาตรฐานสากลสำหรับการรายงานผลกระทบด้านความยั่งยืน

มาตรฐาน GRI สามารถใช้ได้กับทุกองค์กรไม่ว่าใหญ่หรือล็ก รัฐหรือเอกชน เพื่อให้องค์กรเหล่านั้นเข้าใจถึงผลกระทบที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมในแนวทางที่มีความน่าเชื่อถือและเปรียบเทียบได้ ด้วยวิธีการเพิ่มความโปร่งใสในการลงทุนเพื่อพัฒนาด้านความยั่งยืน และยิ่งไปกว่านั้นมาตรฐาน GRI ยังเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากมายรวมถึงนักลงทุน ผู้กำหนดนโยบาย ตลาดทุน และประชาสังคมด้วย​มาตรฐาน GRI ถูกออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งานในรูปแบบที่แยกเป็นชุดดังที่แสดงในรูปภาพที่ 4 เพื่อนำเสนอภาพที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ผลกระทบที่เกี่ยวข้องและวิธีการบริหารจัดการกับประเด็นเหล่านั้นให้กับองค์กรต่างๆ

รูปภาพที่ 4 (GRI, 1., 2023)

สามารถเข้าดูรายละเอียดมาตรฐานการรายงานของ GRI เพิ่มเติมได้ที่: Get to know the GRI Standards system (GRI, 1., 2023)

International References:

  1. GRI, 1. (2022) the GRI Perspective: The Materiality Madness: Why Definitions Matter. [online] Amsterdam: Global Reporting Initiative. Available from:  https://www.globalreporting.org/news/news-center/putting-sustainability-reporting-in-perspective/  [Access 7 June 2023].
  2. GRI, 2. (2022) the GRI Perspective: Towards Stakeholder Capitalism: How We Can Get There. [online] Amsterdam: Global Reporting Initiative. Available from:  https://www.globalreporting.org/news/news-center/putting-sustainability-reporting-in-perspective/  [Access 7 June 2023].
  3. GRI, 3. (2022) the GRI Perspective: A Business Case for Environment & Society. [online] Amsterdam: Global Reporting Initiative. Available from:  https://www.globalreporting.org/news/news-center/putting-sustainability-reporting-in-perspective/  [Access 7 June 2023].
  4. GRI, 4. (2022) the GRI Perspective: ESG Standards, Frameworks and Everything in Between. [online] Amsterdam: Global Reporting Initiative. Available from:  https://www.globalreporting.org/news/news-center/putting-sustainability-reporting-in-perspective/  [Access 7 June 2023].
  5. GRI, 1. (2023) The Global Standards for Sustainability Impacts. [online] Amsterdam: Global Reporting Initiative. Available from:  https://www.globalreporting.org/standards/ [Access 7 June 2023].
  6. GRI, 2. (2023) Our Position in the Reporting Landscape. [online] Amsterdam: Global Reporting Initiative. Available from:  https://www.globalreporting.org/public-policy-partnerships/the-reporting-landscape/ [Access 7 June 2023].

Thai References:

กรอบการรายงาน ESG แบบแนะนำที่นิยม: Carbon Disclosure Standard Board (CDSB)

                The Climate Disclosure Standards Board (CDSB) เกิดจากการรวมตัวก่อตั้งเป็นสมาคมทางธุรกิจในระดับสากลขององค์กรอิสระด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ CDSB ก่อตั้งขึ้นในปี 2550 โดยมีข้อตกลงร่วมในการพัฒนาและสนับสนุนรูปแบบการรายงานของอุตสาหกรรมหลักตามมาตรฐานสากล โดยการนำเสนอกรอบการรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดในระดับเดียวกับการรายงานด้านการเงิน เพื่อสร้างสมดุลในการลงทุนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและการลงทุนทางการเงินและในปัจจุบัน CDSB ได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งใน IFRS Foundation เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2561 IFRS ได้ประกาศจัดตั้ง new International Sustainability Standards Board (ISSB) ใหม่รวมถึงการควบรวม “the Climate Disclosure Standards Board (CDSB)” และ “the Value Reporting Foundation (VRF)” และรวมกรอบและมาตรฐานการรายงานทั้งหมดเข้าด้วยกันอยู่ในรูปแบบมาตรฐานการรายงานของ Sustainability Accounting Standard Board (SASB) ภายในปี 2565 กรอบการรายงานฉบับแรกของ CDSB ถูกปล่อยออกมาในปี 2553 ชื่อว่า “the Climate Change Reporting Framework” โดยมุ่งเป้าความสนใจไปที่ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลกับกลยุทธ์องค์กร รวมถึงศักยภาพและปัจจัยแวดล้อมทางการเงิน ต่อมาในปี 2558 “the CDSB Framework for reporting environmental and climate change information” ที่เกิดจากการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบนเวทีสาธารณะก็ถูกปล่อยออกมาแทน “the Climate Change Reporting Framework” กรอบการรายงาน CDSB ถูกปรับปรุงอีกครั้งในปี 2561 เพื่อให้สอดคล้องกับ Task Force on Climate-related Financial Disclosures  (TCFD) และข้อกำหนดของการรายงานในอุตสาหกรรมหลักอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการรายงานขององค์กรต่างๆ ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางของตลาดและความต้องการผู้บริโภค ขอบเขตของกรอบการรายงาน CDSB ได้ขยายครอบคลุมข้อมูลทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหลังจากการทำประชาพิจารณ์อีกครั้ง “the CDSB Framework for reporting environmental and social information” ถูกประกาศใช้ในปี 2565 และมีการให้คำแนะนำเชิงเทคนิคในการสร้างโครงสร้างการรายงานจากหลักฐานต่างๆ ที่พิสูจน์ได้ตามมาตรฐาน ISSB ภายใต้การควบคุมดูแลของ IFRS Sustainable Disclosure Standards โดยคำแนะนำเชิงเทคนิคนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ประกอบไปด้วยประเด็นการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับน้ำ ประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ และประเด็นเกี่ยวกับสังคม ทั้งนี้คำแนะนำเชิงเทคนิคทั้ง 3 ประเด็นยังคงเป็นประโยชน์และองค์กรต่างๆสามารถอ้างอิงได้จนกว่า ISSB จะประกาศเปลี่ยนแปลงในประเด็นดังกล่าว อย่างไรก็ตามในปัจจุบันคำแนะนำเชิงเทคนิคของ CDSB ยังไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ IFRS เนื่องด้วยกระบวนการจัดการภายในที่ ISSB กำลังจัดการอยู่ จึงทำให้คำแนะนำเชิงเทคนิคดังกล่าวยังไม่ปรากฏในมาตรฐานการรายงานของ โดยรวมแล้ว CDSB คาดหวังว่าจะกระตุ้นการวิเคราะห์และตัดสินใจของนักลงทุนที่ตระหนักถึงการพึ่งพาอาศัยและผลกระทบของเสฐียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับต้นทุนทางธรรมชาติ มนุษย์และสังคมผ่านการจัดเตรียมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่สมบูรณ์ (CDSB, 1., 2022)

วัตถุประสงค์ของกรอบการรายงาน CDSB

กรอบการรายงาน CDSB ถูกใช้เป็นพื้นฐานและเป็นกระบวนการตั้งต้นในการรายงานเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมในกิจกรรมหลักของงองค์กรที่ Task Force for Climate-Related Financial Disclosures (TCFD) แนะนำ เช่น การรายงานประจำปี รายงาน 10-K หรือการรายงานรวมเป็นต้น โดย CDSB มีเป้าประสงค์เพื่อ:

กรอบการรายงานนี้ยังช่วยองค์กรต่างๆในทางอ้อมโดย :

โดยการพัฒนากรอบการรายงาน CDSB ได้รับการดูแลโดยคณะทำงานด้านเทคนิคที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจากบริษัทการบัญชีขนาดใหญ่ต่างๆ องค์กรเกี่ยวกับการรายงานต่างๆ บริษัทเอกชนต่างๆ และนักวิชาการมากมาย ในปัจจุบันแบบแผนการรายงานความยั่งยืนทั้งภาคสมัครใจและภาคบังคับมีอยู่มากมายแต่ไม่มีมาตรฐานไหนที่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าองค์กรควรระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในด้านธรรมชาติ สังคมและมนุษย์อย่างไร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะตีความข้อมูลนั้นอย่างไร เนื่องจากหากข้อมูลต่างที่อยู่ในรายงานไม่สอดคล้องกัน สถาบันการเงินต่างๆจะไม่นำข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจ (CDSB, 2., 2022) ดังนั้น องค์กรควรเลือกรูปแบบการรายงานให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆขององค์กร

คำแนะนำในการประยุกต์ใช้กรอบการรายงาน CDSB

คำแนะนำแรกเป็นคำแนะนำด้านสภาพภูมิอากาศที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือองค์กรในการเปิดเผยข้อมูลเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับการสภาพภูมิอากาศในรายงานการดำเนินกิจการหลักขององค์กร คำแนะนำด้านสภาพภูมิอากาศถูกออกแบบสำหรับเติมเต็มกรอบการรายงาน CDSB และกรอบการรายงาน มาตรการ และการรับรองอื่นๆ ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกับกรอบการรายงาน CDSB ในบางประเด็นหรือทั้งหมด คำแนะนำนี้นำเสนอเครื่องมือในการพัฒนาการดำเนินการเขียนรายงานขององค์กรต่างๆ และเป็นเครื่องยืนยันว่านักลงทุนได้รับข้อมูลเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพตามเพื่อจัดสรรการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ มาตรฐานการรายงานความเสี่ยงและโอกาสต่างๆ ในการดำเนินกิจการหลักขององค์กรหมายรวมถึงการขาดแคลนข้อมูลในการตัดสินใจของนักลงทุนหรือผู้มีอำนาจอื่นๆ ด้วย และความขาดแคลนที่ส่งผลกับคุณภาพการรายงานนี้ส่งผลให้เองทำให้นักลงทุนไม่สามารถจัดสรรการลงทุนที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมได้ เนื่องจากขาดข้อมูลเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศที่จำเป็นต่อการตัดสินใจ หัวใจหลักของคำแนะนำนี้คือการรายงาน 6 อันดับแรกตามข้อกำหนดของกรอบการรายงาน CDSB และข้อกำหนดในการรายงานเหล่านี้กล่าวถึงหัวข้อที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการรายงานข้อมูลเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินกิจการหลักดังนี้:

สิ่งที่คำแนะนำเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศนำเสนอสำหรับแต่ละข้อกำหนดคือ:

คำแนะนำด้านสภาพภูมิอากาศยังครอบคลุมถึงการเสนอแนะข้อมูลสนับสนุนที่สำคัญต่อการตัดสินใจขององค์กรเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านภูมิอากาศที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการหลักและรวมถึงการให้มุมมองเกี่ยวกับหลักการและข้อกำหนดในการเขียนรายงานของกรอบการรายงาน CDSB อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นคำแนะนำด้านสภาพภูมิอากาศแสดงให้เห็นถึงภาพรวมที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อธุรกิจโดยการอธิบายถึงความสำคัญของความเสี่ยงทางกายภาพและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นที่นัยสำคัญและลัษณะเฉพาะของกลไกด้านสภาพภูมิอากาศที่จำเป็นต่อการเขียนรายงานรายงาน และสุดท้ายในภาคผนวกของคำแนะนำด้านสภาพภูมิอากาศยังเป็นการเชื่อมโยงกรอบการรายงาน CDSB กับคำแนะนำของ TFCD และรายการเพิ่มเติมแหล่งที่มาของ CDSB เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเปิดเผยข้อมูลอีกด้วย (CDSB, 3., 2022)

คำแนะนำด้านน้ำคือคำแนะนำประเภทที่สองสำหรับการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับน้ำที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ เปิดเผยข้อมูลของน้ำที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการเงินในรายงานการดำเนินกิจการหลักขององค์กร คำแนะนำนี้ถูกออกแบบเพื่อเป็นส่วนเสริมสำหรับกรอบการรายงาน CDSB ในการรายงานข้อมูลสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อนักลงทุน คำแนะนำด้านน้ำนำเสนอแนวทางการเขียนรายงานเพื่อความมั่นใจว่านักลงทุนได้รับข้อมูลที่ต้องการ อันจะส่งผลต่อการจัดสรรการลงทุนเพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน ยืดหยุ่นและสร้างเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับทรัพยากรน้ำ คำแนะนำนี้สามารถใช้ได้กับองค์กรทั้งองค์กรเดี่ยวหรือกลุ่มองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อการเงิน การกำกับดูแลและการสร้างความยั่งยืน (CDSB, 4., 2022)

คำแนะนำส่วนที่สามในชุดคำแนะนำการประยุกต์ใช้กรอบการรายงาน CDSB คือคำแนะนำด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่มีเป้าหมายในการต่อยอดคำแนะนำตามองค์ประกอบหลักด้านธรรมชาติของ TCFD คำแนะนำด้านความหลากหลายทางชีวภาพถูกออกแบบเพื่อสนับสนุนผู้ที่ต้องการใช้งานกรอบการรายงาน CDSB ในแง่ของการลงทุนทางธรรมชาติที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ เช่นเดียวกับคำแนะนำด้านสภาพภูมิอากาศ และคำแนะนำด้านน้ำ คำแนะนำด้านความหลากหลายทางชีวภาพถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาคุณภาพในการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นเนื้อหาสาระสำคัญที่ใช้งานร่วมกับหลักการรายงานและข้อกำหนดของกรอบการรายงาน CDSB โดยแต่ละการประยุกต์ใช้ช่วยให้องค์กรสามารถเปิดเผยข้อมูลได้ชัดเจน กระชับ สอดคล้องและสามารถเปรียบเทียบได้ (ทั้งการเปรียบเทียบเนื้อหาเดิมในช่วงเวลาที่ต่างกันและการเปรียบเทียบระหว่างเนื้อหากับเนื้อหา) รวมถึงพัฒนาการตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ในการรายงานการดำเนินกิจการหลักขององค์กรต่อนักลงทุน ในการประยุกต์ใช้คำแนะนำด้านความหลากหลายทางชีวภาพเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการอธิบายหัวข้อย่อยที่ทับซ้อนกันเนื่องจากความเชื่อมโยงทางธรรมชาติของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ วัตถุประสงค์ของคำแนะนำด้านความหลากหลายทางชีวภาพคือช่วยให้องค์กรจัดเตรียมการเปิดเผยข้อมูลที่มีคุณภาพสูงได้โดยช่วยให้ผู้ใช้งานที่ต้องการรายงานการดำเนินกิจการหลักสามารถประเมินข้อมูลเนื้อหาสาระทางการเงินที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพได้ นอกเหนือจากนั้นคำแนะนำด้านความหลากหลายทางชีวภาพยังฉายให้เห็นภาพรวมของความสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจการและอธิบายถึงความเสี่ยงและโอกาสสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงเน้นย้ำให้เห็นคุณลักษณะสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและความสำคัญในการรายงานเรื่องนี้ขององค์กร (CDSB, 5.,2022)

ในปี 2564 CDSB ได้ตีพิมพ์เอกสารการรายงานสถานะการจัดทำคำแนะนำด้านสังคมโดยคาดหวังว่าจะเป็นการช่วยขยายขอบเขตของกรอบการรายงาน CDSB ที่รวมข้อมูลทางสังคมเข้ากับข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม การตัดสินใจนี้เกิดจาก 3 เหตุผลหลัก เหตุผลแรกคือความสำคัญของข้อมูลด้านสังคมต่อองค์กรเนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของการใช้ท่าทีของโอกาสและความเสี่ยงต่อองค์กรเป็นปัจจัยในการตัดสินใจของนักลงทุนและผู้มีอำนาจควบคุม เหตุผลที่สองคือความสำคัญของการเชื่อมโยงระหว่างประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจถึงผลกระทบจากภาคธุรกิจได้ดีขึ้น รวมถึงการแสดงให้เห็นถึงความต้องการสร้างความเข้าใจและการรายงานสาระสำคัญไปในทิศทางเดียวกัน เหตุผลที่สามคือในปัจจุบันยังไม่มีกรอบการรายงานข้อมูลด้านสังคมที่สัมพันธ์กับหลักการ วิธีการ และโครงสร้างของการรายงานการดำเนินกิจการหลักอย่างแท้จริง กรอบการรายงาน CDSB ฉบับปรับปรุงนี้ถูกคาดหวังให้เป็นตัวช่วยในการพัฒนาคุณภาพการรายงานให้สูงขึ้นและช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นสำหรับทั้งผู้ที่จัดเตรียมการเปิดเผยข้อมูลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในเอกสาร “Corporate reporting on social matters” ได้รวมข้อมูลทางสังคมเข้ากับการทดสอบตลาดและความสอดคล้องกับหลักการและข้อกำหนดรายงานของ CDSB และได้เสนอคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงในการรายงานประเด็นด้านสังคมที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการหลักที่สามารถเพิ่มเติมรายละเอียดและความชัดเจนของข้อมูลส่วนนี้ลงได้ในหลายส่วนของกรอบการรายงาน CDSB แต่เนื่องจากความท้าทายอยู่ที่แนวทางในการปฏิบัติของการเขียนรายงานในปัจจุบันควรประกอบไปด้วยความสอดคล้อง เปรียบเทียบได้ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ เป็นเนื้อหาสาระเฉพาะที่เกี่ยวกับประเด็นด้านสังคมในการดำเนินกิจกรรมหลักขององค์กรที่ต้องรายงาน ดังนั้นความท้าทายจึงอยู่ที่คุณภาพ ความเข้มข้น และบริบทของข้อมูลมากกว่าจำนวนของข้อมูล (CDSB, 6., 2022)

CDSB กำลังเริ่มขยายขอบเขตของกรอบการรายงานและเทคนิคการนำไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับเนื้อหาประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเงิน จากที่เห็นได้ว่า CDSB นำเสนอกรอบการรายงานออกสู่ตลาดโดยอ้างอิงรูปแบบมาตรฐาน TCFD ในเนื้อหาสาระทางการเงินทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงนำเสนอมาตรฐานของการรายงานที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจขององค์กรพัฒนาตลอดเวลาเพื่อบรรลุความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

International References:

  1. CDSB, 1. (2022) Consolidation of CDSB. [online] London: Climate Disclosure Standard Board. Available from: https://www.cdsb.net/ [Access 14 June 2023].
  2. CDSB, 2. (2022) Framework for Reporting Environment and Social Information. [online] London: Climate Disclosure Standard Board. Available from: https://www.cdsb.net/what-we-do/reporting-frameworks/environmental-information-natural-capital [Access 14 June 2023].
  3. CDSB, 3. (2022) Climate Guidance. [online] London: Climate Disclosure Standard Board. Available from: https://www.cdsb.net/climateguidance [Access 14 June 2023].
  4. CDSB, 4. (2022) Water Guidance. [online] London: Climate Disclosure Standard Board. Available from: https://www.cdsb.net/water [Access 14 June 2023].
  5. CDSB, 5. (2022) Biodiversity Guidance. [online] London: Climate Disclosure Standard Board. Available from: https://www.cdsb.net/biodiversity [Access 14 June 2023].
  6. CDSB, 6. (2022) Social Guidance. [online] London: Climate Disclosure Standard Board. Available from: https://www.cdsb.net/what-we-do/corporate-reporting-social-issues [Access 14 June 2023].

กรอบการรายงาน ESG แบบแนะนำที่นิยม: International Integrated Reporting Council (IIRC)

The International Integrated Reporting Council (IIRC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 โดยมีเป้าหมายในการสร้างกรอบแนวคิดระดับสากลในการสื่อสารที่เกี่ยวกับการสร้างคุณค่าขององค์กรตามกาลเวลา โดยมีคณะกรรมการบริหาร IIRC เป็นผู้ควบคุมและตรวจสอบกลยุทธ์ การเงิน และการดำเนินการขององค์กรที่เป็นสมาชิกและที่กำลังจะเป็นสมาชิกของ International Integrated Reporting Framework Board The International Integrated Reporting Framework Board มีหน้าที่แนะนำในการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงกรอบการรายงานในทุกกรณี ก่อนจะเสนอต่อคณะกรรมาธิการของ International Integrated Reporting Framework Council ที่เป็นพื้นที่สำคัญในการประชุมอภิปรายขององค์กรเกี่ยวกับข้อคิดเห็นของตลาดในวงกว้างและมีสาระสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับการรายงานเชิงบูรณาการและแนวคิดเชิงบูรณาการ รวมถึงการกำหนดมาตรฐานสำหรับการจัดเตรียมและการสื่อสารในการให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และให้ข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับองค์กรเช่น ลักษณะ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ รวมถึงกลยุทธ์และวิธีการในการนำส่งกรอบการรายงานเชิงบูรณาการสู่ตลาด (Integrated Reporting, 1., 2023). ต่อมาในเดือนพฤศจิกายนปี 2554 IIRC ประกาศการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรในหลายส่วนเนื่องจากโครงสร้างเดิมมีความซับซ้อน ภายใต้รูปแบบการบริหารจัดการใหม่ช่วงการเปลี่ยนแปลงแรกก็สิ้นสุดลงในปลายปี 2557 โดย IIRC ถูกบริหารแบบองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเลขาธิการสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อเดิม รวมถึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลขึ้นมาใหม่หนึ่งชุดแทนรูปแบบการบริหารเดิม โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบบัญชี การแต่งตั้งโยกย้าย และการจ่ายค่าตอบแทนขององค์กร ณ จุดนี้ IIRC ได้สร้างรากฐานสำหรับรูปแบบการรายงานใหม่ขึ้นในปี 2558 เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถจัดเตรียมข้อมูลในการสื่อสารถึงการสร้างคุณค่าขององค์กรตามกาลเวลาได้กระชับและรัดกุมขึ้น IIRC ให้คำจำกัดความกระบวนการนี้ว่า “การรายงานเชิงบูรณาการ” หรือเรียกสั้นๆว่า <IR> โครงสร้างของ <IR> ประกอบไปด้วยการกำหนดเป้าหมายอย่างมีกลยุทธ์ การกำกับดูแลกิจการ และแบบจำลองธุรกิจ รวมถึงการบูรณาการระหว่างข้อมูลด้านการเงินและไม่ใช่การเงินโดยกรอบการรายงานเชิงบูรณาการมีวัตถุประสงค์เพื่อ:

(UK Accounting Plus, 2023). และ <IR> ตั้งเป้าที่จะ:

กรอบการรายงาน <IR> ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนประกอบไปด้วย แนวคิดพื้นฐาน (Fundamental Concepts), คำแนะนำทางหลักการ (Guidance Principles) และ องค์ประกอบหัวข้อ (Content Elements) อันดับแรกแนวคิดพื้นฐานช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับคำแนะนำและข้อกำหนดต่างๆของกรอบการรายงาน <IR> โดยการอธิบายถึงวิธีการที่องค์กรสร้าง ทำให้คงอยู่ และทำให้เสื่อมตามกาลเวลา ทั้งนี้คุณค่าไม่สามารถถูกสร้าง ทำให้คงอยู่ และทำให้เสื่อมได้ด้วยตัวองค์กรเท่านั้น หากแต่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับทรัพยากรต่างๆ ดังนี้:

รูปภาพที่ 1

รูปภาพที่ 2

7 คำแนะนำทางหลักการสนับสนุนการดำเนินการและการนำเสนอรายงานเชิงบูรณาการที่รายงานผ่านหัวข้อและวิธีการสื่อสารข้อมูลดังนี้:

นอกจากนี้ <IR> ยังประกอบไปด้วย 8 องค์ประกอบหัวข้อที่เป็นพื้นฐานในการเชื่อมโยงหัวข้อต่างๆ เข้าด้วยกัน และไม่เป็นการแยกกันโดยเด็ดขาด:

IIRC ถูกรวมเข้ากับ Sustainability Accounting Standard Board (SASB) Foundation และเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น Value Reporting Foundation (VRF) ในปี 2564 และคณะกรรมการบริหาร IIRC และคณะกรรมการบริหาร SASB Foundation ถูกควบรวมกันเพื่อก่อตั้งเป็นคณะกรรมการบริหาร Value Reporting Foundation Board of Directors (“the VRF Board”) คณะกรรมการบริหาร VRF มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลกลยุทธ์ การเงิน และการดำเนินกิจการขององค์กรและสมาชิกของ  International Integrated Reporting Framework Board (IIRF) (Integrated Reporting, 2021). จากนั้นในปี 2565 IFRS Foundation ประกาศการควบรวม VRF เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ IFRS Foundation. The International Accounting Standards Board (IASB) และ the International Sustainability Standards Board (ISSB) ของ IFRS Foundation มีกลไกการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างกรอบการรายงานเชิงบูรณาการให้ตอบโจทย์แผนงาน และข้อกำหนดต่างๆของ IFRS การควบรวมพนักงานและทรัพยากรต่างๆ นี้ถูกดำเนินการตามข้อตกลงในการประชุม COP26 อันจะนำไปสู่การเป็นผู้นำด้านการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในระดับสากล และช่วยพัฒนา International Sustainability Standards Board’s (ISSB) ฉบับใหม่ที่ครอบคลุมมาตรฐานความยั่งยืนในระดับสากลให้กับตลาดทุน ทั้งนี้การรายงานเชิงบูรณาการช่วยให้องค์กรธุรกิจคิดถึงภาพรวมกลยุทธ์ที่สร้างความมั่นใจให้นักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งยังช่วยพัฒนาสมรรถนะการดำเนินกิจการอีกด้วย ในปัจจุบันการรายงานเชิงบูรณาการถูกใช้ในกว่า 2,500 องค์กรใน 75 ประเทศทั่วโลก และได้รับการสนับสนุนจากกว่า 40 ตลาดหลักทรัพย์ โดยมีองค์กรที่ได้ประโยชน์จากการรายงานเชิงบูรณาการมากขึ้นเรื่อยๆ ในแง่ของการตัดสินใจทางธุรกิจ และการสร้างคุณค่าระยะยาว (Integrated Reporting, 3., 2021)

International References:

  1. UK Accounting Plus (2023) International Integrated Reporting Council (IIRC). [online] London: Deloitte. Available from https://www.iasplus.com/en-gb/resources/global-organisations/iirc [Access 21 June 2023].
  2. Integrated Reporting, 1. (2023) Governance Archive. [online] Delaware: Integrated Reporting (now part of IFRS Foundation). Available from: https://www.integratedreporting.org/the-iirc-2/governance-archive/ [Access 21 June 2023].
  3. Integrated Reporting, 2. (2021) International <IR> Framework. [online] Delaware: Integrated Reporting (now part of IFRS Foundation). Available from: https://www.integratedreporting.org/resource/international-ir-framework/ [Access 21 June 2023].
  4. Integrated Reporting, 3. (2021) Transition to Integrated Reporting: A Guide to Getting Started. [online] Delaware: Integrated Reporting (now part of IFRS Foundation). Available from: https://www.integratedreporting.org/news/transition-to-integrated-reporting-a-guide-to-getting-started/ [Access 21 June 2023].